แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเอกชนจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ชญานิศ โฆษิตพิมานเวช มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • นิยดา เปี่ยมพืชนะ มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

คำสำคัญ:

แนวทาง, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, โรงเรียนเอกชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเอกชน และแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 127 คน และครูผู้สอน จำนวน 218 คน รวมทั้งสิ้น 345 คน โดยใช้วิธีกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยคำนวณจากสูตร Taro Yamane (1973) ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตรประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหา (IOC) เท่ากับ 0.67– 1.00 และความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ดัชนีความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง ค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทว์

          ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพปัจจุบันของการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุดคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ รองลงมาคือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ส่วนด้านที่มีการปฏิบัติต่ำสุดคือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล สภาพที่พึงประสงค์ของการพัฒนาภาวะผู้การเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ รองลงมาคือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา และดัชนีความต้องการจำเป็นของการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเอกชน จังหวัดขอนแก่น พบว่า ด้านที่มีความต้องการจำเป็นสูงสุด คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ และด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล รองลงมาคือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ส่วนด้านที่มีความต้องการจำเป็นน้อยสุดคือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ
  2. แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเอกชนจังหวัดขอนแก่น คือ 1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ผู้บริหารควรมีการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยแสดงให้เห็นถึงการมีวิสัยทัศน์อย่างชัดเจน มีการส่งเสริมให้ครูมีความมั่นใจในการปฏิบัติงาน 2) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคลผู้บริหารควรให้กำลังใจแก่ครูอย่างต่อเนื่อง โดยให้คำแนะนำและความช่วยเหลือในการปฏิบัติงานให้แก่ครูจนบรรลุเป้าหมาย 3) ด้านการกระตุ้นทางปัญญาพบว่าผู้บริหารควรนำเสนอแนวทางให้แก่ครูสามารถปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและสนับสนุนให้ครูมีความคิดสร้างสรรค์จนสามารถผลิตผลงานออกมาได้อย่างหลากหลายและ4) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ผู้บริหารควรมีการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม โดยส่งเสริมให้ครูทำงานเป็นทีม และมีการจูงใจให้แก่ครูสามารถปฏิบัติงานจนบรรลุตามเป้าหมายที่ตั้งไว้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). รัฐธรรมนูญแห่งชาติราชอาณาจักรไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ขจรอรรถพณ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ : เชียงราย. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 6(6): 1-15.

นัฏฐกานต์ ทันที. (2555). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของนายกองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอกันทรลักษ์จังหวัดศรีสะเกษ.การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริการพัฒนาท้องถิ่น. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.

ประชา โสภัณนา. (2563). การพัฒนาแนวทางการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. วารสารมหาจุฬานครทรรศน์. 7(7): 360-372.

พลพีระ วงศ์พงประทีป. (2562). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของครูโรงเรียนรัตนโกสินทร์สมโภชลาดกระบัง. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารการศึกษา ภาควิชานโยบายการจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภวัต มิสดีย์. (2563). การศึกษาความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารระดับต้น มหาวิทยาลัยราชภัฏ ภาควิชาการบริหารการศึกษา. มนุษยสังคมสาร. 18(1): 51-67.

ภารดี อนันต์นาวี. (2557). หลักการแนวคิดทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. ชลบุรี : สำนักพิมพ์มนตรี.

อุมาวดี วัฒนะนุกุล. (2560). ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1 อำเภอเมืองยะลา จังหวัดยะลา. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา

Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (3 rd ed). Tokyo: Harper.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-04-30

How to Cite

โฆษิตพิมานเวช ช. ., & เปี่ยมพืชนะ น. . (2022). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในโรงเรียนเอกชนจังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 8(1), 70–80. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/256286