ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ชุมนุมป้องกันภัยโรคระบาดตามแนวคิด Child-to-Child Approach ที่ส่งผลต่อความรู้และความตระหนัก ในการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาดสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
คำสำคัญ:
กิจกรรมการเรียนรู้ชุมนุม; โรคระบาด; Child-to-Child Approach; ความตระหนัก; การเตรียมความพร้อมรับมือบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบความรู้ในการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาดระหว่างก่อนและหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ชุมนุมป้องกันภัยโรคระบาด ตามแนวคิด Child-to-Child Approach สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 2) ศึกษาความตระหนักในการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาด หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ฯ กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น 1) นักเรียนรุ่นพี่ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 20 คน และ 2) นักเรียนรุ่นน้อง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 22 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนวัดสุพรรณพนมทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ กิจกรรมชุมนุมป้องกันภัยโรคระบาด ตามแนวคิด Child-to-Child Approach แบบทดสอบวัดความรู้ และแบบสอบถามวัดความตระหนักในการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที
ผลการวิจัย พบว่า
- นักเรียนรุ่นพี่และนักเรียนรุ่นน้องมีความรู้ในการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาดหลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ชุมนุมป้องกันภัยโรคระบาด ตามแนวคิด Child-to-Child Approach สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- นักเรียนรุ่นพี่มีความตระหนักในการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาด หลังเรียนด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ชุมนุมป้องกันภัยโรคระบาด ตามแนวคิด Child-to-Child Approach สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักเรียนรุ่นน้องมีความตระหนักในการเตรียมความพร้อมรับมือโรคระบาด อยู่ในระดับมาก
References
จักรกฤษณ์ จันทะคุณ. (2558). การพัฒนาหลักสูตรเสริมสร้างจิตสำนึกในการเตรียมความพร้อมรับมือภัยพิบัติตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
_______. (2560). การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมตามแนวคิดพี่สอนน้องสำหรับนักเรียนในพื้นที่เสี่ยงภัย. วารสารวิชาการเครือข่ายบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏภาคเหนือ มหาวิทยาลัยพะเยา, 7(12), 47-62.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2561). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 8). นนทบุรี: พี บาลานซ์ดีไซด์แอนปริ้นติ้ง.
ดวงฤดี กิตติจารุดุลย์. (2557). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทัศนคติและความตระหนักด้านการบริหารจัดการความเสี่ยงกรณีศึกษา: บริษัทนำเข้าส่งออกแห่งหนึ่ง. การศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองปริญญามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเนชั่น.
ทิศนา แขมมณี. (2544). ศาสตร์การสอนเพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: บพิธการพิมพ์.
เทื้อน ทองแก้ว. (2563). การออกแบบการศึกษาในชีวิตวิถีใหม่: ผลกระทบจากการแพร่ระบาด COVID-19. วารสารคุรุสภาวิทยาจารย์, 1(2), 1-10.
บี บี ซี นิวซ์ (BBC NEWS). (2563). โคโรนา: มารู้จักไวรัสที่ทำให้เกิดโรคปอดอักเสบระบาดในจีน. สืบค้น 15 ธันวาคม 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-51089461
_______. (2563). โควิด-19 ลำดับเหตุการณ์ แผนที่ อินโฟกราฟิก ยอดติดเชื้อ-เสียชีวิตในไทยและทั่วโลก. สืบค้น 15 ธันวาคม 2563,จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-52090088
พรรณวดี ชัยกิจ, และสุมนทิพย์ จิตสว่าง. (2564). การแพร่กระจายของข่าวปลอมเกี่ยวกับการแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการป้องกันของไทย. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(40), 15-32.
ศิริพันธุ์ ศิริพันธุ์ และยุพาวรรณ ศรีสวัสดิ์. (2554). การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ: วิธีการสอนแบบใช้ปัญหาเป็นหลัก. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์, 3(1), 104-111.
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการเสริมสร้างสุขภาพ. (2563). แนะหลัก 4 ต. สู้ภัยโควิด-19. สืบค้น 27 ธันวาคม 2563, จาก https://www.thaihealth.or.th/Content/51463-
Bosire Monari Mwebi. (2005). Narrative Inquiry into the Experiences of A Teacher and Eight Students Learning About HIV/AIDS through a Child-to-Child Curriculum Approach (Doctoral dissertation). Edmonton: University of Alberta.
Freeman, R., & Bunting, G. (2003). A child-to-child approach to promoting healthier snacking in primary school. Health Education, 17(103), 17-27.
Hawes, H. (1988). CHILD-TO-CHILD ANOTHER PATH TO LEARNING. Setzkasten Electronic Volker Stübing: Hamburg.
Wisner, B. (2006). Let our children teach Us! a review of the role of education and knowledge in disaster risk reduction. N.P.: n.p.