พฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2562 ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 7
คำสำคัญ:
พฤติกรรมการใช้สิทธิ์, การเลือกตั้งซ่อม, สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อม สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 7 2) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 7 ตามหลักเบญจศีล 3) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 7 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล 4) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการใช้สิทธิเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ในจังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 7 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา มีจำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 8 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ แล้วจึงนำวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสังคมศาสตร์ และวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า
- ระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดขอนแก่น โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. ระดับพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในจังหวัดขอนแก่น ตามหลักเบญจศีล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3. ผลการเปรียบเทียบพฤติกรรมการเลือกตั้งของประชาชน พบว่า ประชาชนที่มีเพศ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้และพฤติกรรมตามหลักเบญจศีลต่างกันมีพฤติกรรมการเลือกตั้งแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 ส่วนประชาชนที่มี อายุ ต่างกัน มีพฤติกรรมเลือกตั้งไม่แตกต่างกัน 4. แนวทางการส่งเสริมพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พบว่า ภาครัฐควรนำหลักธรรมมาสร้างจิตสำนึกในหน้าที่ของตนเอง ส่งเสริมให้ประชาชนตระหนักว่าการใช้สิทธิเลือกตั้งเป็นหน้าที่ทางกฎหมายแล้ว ยังเป็นหน้าที่ของพลเมืองที่มีความสำคัญ ส่วนภาคประชาชน ผู้นำชุมชนและผู้นำทางศาสนา ควรส่งเสริมการนำหลักเบญจศีลมาใช้พิจารณา ใช้ในการเลือกผู้สมัครที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสม ทำหน้าที่บริหารประเทศเพื่อประโยชน์สุขของคนในชาติ
References
แอมเนสตี้, ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน, (2563), สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2563, จาก
https://www.amnesty.or.th/our-work/hre/udhr/.
พระราชกฤษฎีกา, พระราชกฤษฎีกาให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562, (2562), สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2563, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/008/T_0001.PDF
ไทยรัฐออนไลน์, (2563), คะแนนไม่ตกน้ำ, สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2563, จาก http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/008/T_0001.PDF
ข่าว สนง.กกต.จว.ขอนแก่น, สรุปผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ.2562 จังหวัดขอนแก่น เขตเลือกตั้งที่ 1-10 (อย่างไม่เป็นทางการ), สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2563, จาก https://www.ect.go.th/khonkaen/ewt_dl_link.php?nid=259
ลัคนา ถูระบุตร, บัญชา วิทยอนันต์, (2561), ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) กรณีศึกษา อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา, JOURNAL OF NAKHONRATCHASIMA COLLEGE, 12(3).
สุรพล พรมกุล, (2558), พฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2557 ในจังหวัดขอนแก่น, วารสารวิชาการธรรมทรรศน์, 15(3). 103-118.
สุภาพร วัชรคุปต์, (2558), พฤติกรรมการรักษาศีล 5 ของประชาชนในหมู่บ้านรักษาศีล 5 นำร่อง อำเภอเมืองสระแก้ว จังหวัดสระแก้ว, รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป, วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
วินิจ ผาเจริญ. (2563). พฤติกรรมการตัดสินใจไปใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของประชาชนในพื้นที่เลือกตั้งซ่อมเขต 8 จังหวัดเชียงใหม่. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร., 8(1), 91-101.
ฐิติทัตน์ นิพนธ์พิทยา (2562) ได้เขียนบทความ เรื่อง การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการตัดสินใจสนับสนุนการเมือง, วารสารวิจยวิชาการ, 2(1), 117-134.
พระอภิชาติ อภิชาโต, (2558), การศึกษาเชิงวิเคราะห์การเมืองการปกครองที่ปรากฏในคัมภีร์ทศชาติชาดก, วารสารบัณฑิตศาส์น มมธ., 13(1), 84-95.