สถานะและระดับการเข้าร่วมของภาคการผลิตและภาคบริการของไทย ในห่วงโซ่มูลค่าโลก

ผู้แต่ง

  • มานะ ลักษมีอรุโณทัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (บางเขน) ประเทศไทย

คำสำคัญ:

สถานะและระดับการเข้าร่วม, ภาคการผลิตและภาคบริการของไทย, ห่วงโซ่มูลค่าโลก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสถานะ (Position) และระดับการเข้าร่วม (Participation) ของภาคการผลิตและภาคบริการของในไทยในห่วงโซ่มูลค่าโลก (Global Value Chain) การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้วิเคราะห์และคำนวณ ได้แก่ ตารางปัจจัยการผลิตและผลผลิตระหว่างประเทศ (Inter-Country Input-Output (ICIO) Table) ปี ค.ศ. 2021 ของ OECD โดยได้คำนวณดัชนีสัดส่วนการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลก (Participation in GVC) ดัชนีความยาวของห่วงโซ่มูลค่าโลก (Length of GVC) และระยะห่างถึงความต้องการขั้นสุดท้าย (Distance to Final Demand) ของประเทศไทย และประเทศอื่นๆ รวม 18 ประเทศ จำนวน 17 สาขาอุตสาหกรรม

ผลการวิจัยพบว่า

ไทยมีค่าดัชนีสัดส่วนการมีส่วนร่วมในห่วงโซ่มูลค่าโลก เท่ากับร้อยละ 0.39 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลก หรืออยู่ในลำดับที่ 14 จากประเทศต่างๆที่คัดเลือกรวม 18 ประเทศ จากการคำนวณดัชนีความยาวของห่วงโซ่มูลค่าโลก พบว่า สาขาอุตสาหกรรมของไทยหลายสาขาได้ใช้ปัจจัยการผลิตจากหลายประเภทสินค้าและบริการ และจากในหลายประเทศตลอดห่วงโซ่มูลค่าการผลิต และมีระดับความเชื่อมโยงไปข้างหลังกับสาขาการผลิตต่างๆ (ทั้งในประเทศและต่างประเทศ) ในระดับสูง และจากการคำนวณระยะห่างถึงความต้องการขั้นสุดท้าย พบว่า โดยภาพรวม ไทยมีสถานะเป็นผู้พึ่งพิง (มีตำแหน่งค่อนไปทางปลายน้ำ) ของห่วงโซ่มูลค่าโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีในระดับสูงในการผลิต ทั้งนี้ ประเทศไทยควรยกระดับขีดความสามารถของกำลังแรงงานและขีดความสามารถทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยมุ่งเน้นการเข้าร่วมกิจกรรมการผลิตที่สร้างมูลค่าเพิ่ม (Value Added) ให้แก่ประเทศในระดับสูง

References

ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). เครื่องชี้วัดห่วงโซ่มูลค่าเพิ่มการผลิตในการค้าระหว่างประเทศ (Global Value Chain) และประโยชน์ต่อการประเมินภาวะเศรษฐกิจ, สืบค้นเมื่อ 5 ตุลาคม 2564. จาก https://www.bot.or.th/Thai/MonetaryPolicy/ArticleAndResearch/FAQ/FAQ_131.pdf.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). เจาะลึกโครงสร้างเศรษฐกิจไทยด้วยตาราง I-O (Input-Output Table), เอกสารประกอบการสัมมนาวิชาการสายงานเศรษฐกิจ ปี 2560 โดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. 25 กันยายน 2560.

Dietzenbacher, E. and Romero, I. (2007). Production Chains in an Interregional Framework: Identification by Means of Average Propagations Lengths. International Regional Science Review, 30, 362-383.

Escaith, H. and S. Inomata. (2013). Geometry of global value chains in East Asia: the role of industrial networks and trade policies. In global value chains in a changing world, edited by D.K. Elms and P. Low. Geneva: WTO.

Koopmans, L. et al. (2011). Conceptual Frameworks of Individual Work Performance A Systematic Review. Journal of Organizational and Educational Leadership, 53(8), 856-866.

OECD. (2021). OECD Inter-Country Input-Output (ICIO) Tables. Retrieved 2 November 2022. from https://www.oecd.org/sti/ind/inter-country-input-output-tables.htm.

P. Antràs, D. Chor, T. Fally and R. Hillberry. (2012). Measuring the Upstreamness of Production and Trade Flows. American Economic Review: Papers & Proceedings, 102(3), 412–416.

Thomas Wiedmann, Harry C. Wilting, Manfred Lenzen, Stephan Lutter and Viveka Palm. (2011). Quo Vadis MRIO? Methodological, data and institutional requirements for multi-region input-output analysis. Ecological Economics, 2011, 70(11), 1937-1945.

WTO, World Bank Group, and OECD. (2017). Measuring and analyzing the impact of GVCs on economic development. Global Value Chain Development Report 2017. Washington DC.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-03-31

How to Cite

ลักษมีอรุโณทัย ม. (2023). สถานะและระดับการเข้าร่วมของภาคการผลิตและภาคบริการของไทย ในห่วงโซ่มูลค่าโลก. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 9(1), 27–41. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/263396