แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนวิทยาลัยเทคโนโลยีในเครือพิชญ

ผู้แต่ง

  • เสริมศักย์ นวลทิพย์
  • สมาน ประวันโต
  • ศศิรดา แพงไทย

คำสำคัญ:

การส่งเสริม, วิจัยในชั้นเรียน, ครูผู้สอน

บทคัดย่อ

           การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนวิทยาลัยเทคโนโลยีในเครือพิชญ 2) เพื่อศึกษาแนวการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนวิทยาลัยเทคโนโลยีในเครือพิชญ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารและครูผู้สอน จำนวน 146  คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วย ตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องของแบบสอบถาม อยู่ระหว่าง 0.50- 1.00 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.948 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น ผลการวิจัยพบว่า

  1. สภาพที่ปัจจุบัน ของการการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนวิทยาลัยเทคโนโลยีในเครือพิชญ ในภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความต้องการจำเป็นในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนเรียงตามลำดับ (PNI Modified ) อยู่ระหว่าง 0.204 - 0.480 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน มีความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสูงสุดเป็นอันดับแรก (PNI Modified = 0.480)
  2. แนวทางการการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนวิทยาลัยเทคโนโลยีในเครือพิชญ ประกอบด้วย 5 ด้าน 25 แนวทาง ซึ่งได้แก่ 1) ด้านด้านการส่งเสริมความก้าวหน้าในตำแหน่งการงาน 7 แนวทาง 2) การมีความรับผิดชอบต่อครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน 7 แนวทาง 3) การให้ความสำคัญกับการวิจัยในชั้นเรียน 5 แนวทาง 4) ด้านการส่งเสริมให้เกิดความสำเร็จของงานวิจัยในชั้นเรียน 4  แนวทาง         5) ด้านการยอมรับนับถือครูผู้ทำวิจัยในชั้นเรียน 2 แนวทาง

References

กัญญาพัชร์ วิชัยรัมย์. (2555). บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนของผู้บริหารสถานศึกษา ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2.

วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

กิตติศักดิ์ แป้นงาม. (2558). เส้นทางสู่ครูมืออาชีพ : การวิจัยในชั้นเรียน. สืบค้นเมื่อ 20 กรกฎาคม 2558, จาก https.//etraining2012.wordpress.com/ครูกับการวิจัย

คชาภรณ์ ฉันทประเสริฐวุฒิ. (2553). บทบาทการส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนขอผู้บริหารโรงเรียนตามทัศนะของครู และผู้บริหาร สังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มกรุงเทพใต้. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). กรุงเทพ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

คมศร วงษ์รักษา. (2540). การเปรียบเทียบคุณภาพและความสอดคล้อง ของเทคนิคการจัดเรียงลำดับความสำคัญ ที่อิงโมเดลความแตกต่างในการประเมินความต้องการจำเป็น. สืบค้นเมื่อ 29 กันยายน 2564 จากhttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7729.

จักรกรินทร์ บ่อเงิน. บทบาทที่เป็นจริงและบทบาทที่คาดหวังของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนในกลุ่มเครือข่ายขุนงาว สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1. วิทยานิพนธ์ (การบริหารการศึกษา). พะเยา : บัณฑิตวิทยาลัยฯ มหาวิทยาลัยพะเยา.

เจนจิรา ธีรวิโนจน์. (2560) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมการวิจัยในชั้นเรียนโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3. วิทยานิพนธ์.(การบริหารการศึกษา). บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

ดวงสมร ราวุธกุล. (2551). การจูงใจของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานต่อการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฃลบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา). ฉะเชิงเทรา : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์.

Kenneth, w. (1998). Research Methods in Education : An Introduction. Boston : Allyn and Bacon.

McCarthy, B. (2010). Using the 4 MAT System to Bring Learning Styles to School. Eric Accession : NISC Discover Report. 31-37, October

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2023-09-30

How to Cite

นวลทิพย์ เ. ., ประวันโต ส. ., & แพงไทย ศ. . (2023). แนวทางการส่งเสริมการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูผู้สอนวิทยาลัยเทคโนโลยีในเครือพิชญ. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 9(3), 95–105. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/268084