ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของกลุ่มธุรกิจธนาคารที่จดทะเบียน ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
คำสำคัญ:
มูลค่ากิจการ, ธนาคารพาณิชย์, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยบทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของกลุ่มธุรกิจธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มีจำนวน 10 บริษัท รวบรวมข้อมูลด้วยวิธีทุติยภูมิ โดยเก็บข้อมูลเป็นไตรมาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – ปี พ.ศ. 2564 รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 5 ปี โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ด้วยวิธี Fixed Effects Regression Model (FEM) เนื่องจากข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์เป็นข้อมูลแบบผสม (Panel Data) ซึ่งมี 8 ปัจจัยที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อเงินให้สินเชื่อรวม (NPL) อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินรับฝาก (LDR) อัตราการเติบโตของสินเชื่อ (GL) อายุของบริษัท (AGE) และ อัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (DIVIDEND_YIELD)
ผลจากการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่ส่งผลในทิศทางตรงกันข้ามกับมูลค่ากิจการของกลุ่มธุรกิจธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 99 ได้แก่ อายุของบริษัท (AGE) และอัตราส่วนเงินปันผลตอบแทน (DIVIDENDYIELD) แต่ปัจจัยที่ส่งผลในทิศทางเดียวกันต่อมูลค่ากิจการของกลุ่มธุรกิจธนาคารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 90 ได้แก่ อัตราผลตอบแทนจากสินทรัพย์ (ROA) โดยมีค่า R-Square เท่ากับ 0.870635
References
จิราภรณ์ ชูพูล (2562). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่ม SET 100. (การค้นคว้าอิสระปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (2563) หุ้นอุตสาหกรรมไหน จ่ายปันผลเยอะสุด. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565. จาก https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/235-investhow-topdividendstock-2563.
ธนัชพร คำบุญจันทร์. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพสินเชื่อและมูลค่าของธนาคารในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).
นภสร ชิตทวงค์, ศิริลักษณ์ ใจสมุทร, อลิสา คงมนต์. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างการดำเนินงานและมูลค่ากิจการของกลุ่มอุตสาหกรรมบริการในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. น. 2049-2058. ใน รายงานการประชุมนาเสนอผลงานวิจัยบัณฑิตศึกษาระดับชาติ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี ครั้งที่ 13, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, อุดรธานี.
บริษัท PwC ประเทศไทย. (2564). ธนาคารแห่งโลกอนาคตต้องพร้อมรบในสนามดิจิทัล. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565. จาก https://www.pwc.com/th/en/pwc-thailand-blogs/blog-20210625.html.
ประสิทธิ์ รุ่งเรือง. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการดำเนินงานกับมูลค่ากิจการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม. น. 572-582. ใน รายงานการประชุมสังคมศาสตร์วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 16 “ความมั่นคงทางอาหารสู่สังคมไทยที่ยั่งยืน”, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, เชียงราย.
ผู้จัดการออนไลน์. (2564). ttb analytics มองแนวโน้มธุรกิจธนาครปี 2565 ฟื้นตัว-รับแรงหนุน. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565. จาก https://mgronline.com/stockmarket/detail/9640000116445.
ภาณุวัฒน์ คณะโต. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างTOBIN’S Q กับราคาหลักทรัพย์ของบริษัทกลุ่มอุตสาหกรรมเทคโนโลยีหมวดธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเงิน, บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ).
รัตนาภรณ์ แซ่หลี และ สุมามาลย์ ปานคำ. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อราคาหลักทรัพย์ในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. (การค้นคว้าอิสระ วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี, มหาวิทยาลัยรังสิต).
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม. ค้นเมื่อ 21 เมษายน 2565. จาก https://www.nesdc.go.th/main.php?filename=develop_issue.
Hesty Juni Tambuati Subing and Rini Susiani. (2019). Internal factors and firm value: A case study of banking listed companies. Jurnal Keuangan dan Perbankan, 23(1), 78–89.
Indra Siswantil, Eko Ganis Sukoharsono, Embun Prowanta. (2015). The Impact of Macro Economy on Firm Values and Financial Performance as an Intervening Variable: An Empirical Study of LQ-45 Banking Industries in Indonesia. Global Journal of Business and Social Science Review, 3(1), 88 – 94.
Lam Xuan HOANG, Phi Dinh HOANG, Duong Quy DANG. (2020). Growth of Loan Distribution and Bank Valuation: Evidence from Vietnam. Journal of Distribution Science. 18(5), 5-13.
Medyawati, Henny, and Yunanto, Muhamad. (2021). Determining Firm Value in the Indonesian Banking Sub Sector. Economics and Business Quarterly Reviews, 4(2), 68-78.
Neneng Susanti. and Gyska Restiana. (2018). What’s the Best Factor to Determining Firm Value?. Jurnal Keuangan dan Perbankan, 22(2), 301–309
Sugianto Sugiantoa, Fahmi Oemarb, Luqman Hakimc, Endri Endri. (2020). Determinants of Firm Value in the Banking Sector: Random Effects Model. International Journal of Innovation, Creativity and Change. 12(8), 208-218.
Tharinee Pongsupatt and Apichat Pongsupatt. (2019). Factors Affecting Stock Price: The Case of Thailand Stock Exchange SET 100 Index. In IISES International Academic Conference. Vienna.
Wulan Mawarti, Dimas Angga Negoro, Tantri Yanuar Rahmat Syah. (2022). The Effect of Financial Ratio in Determining Company Value: (Empirical Study on Banking Companies Listed on the Indonesia Stock Exchange for the 2015-2019 Period). Budapest International Research and Critics Institute-Journal (BIRCI-Journal), 5(1): 3001-3013.