ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานคืนภาษี สำนักงานสรรพากรพื้นที่ 1 นครปฐม
คำสำคัญ:
คำสำคัญ: กระบวนการบริการ, ความพึงพอใจ, สำนักงานสรรพากรพื้นที่ 1 นครปฐมบทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับกระบวนการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานคืนภาษี 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานคืนภาษี แยกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนออิทธิพลระหว่างกระบวนการและความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานคืนภาษี โดยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม เก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ใช้บริการงานคืนภาษีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 1 นครปฐม จำนวน 385 คน ด้วยวิธีไม่อาศัยความน่าจะเป็น และใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบ Enter
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับกระบวนการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานคืนภาษี อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3.87 และ3.97 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ที่ .486 และ.515 2) ปัจจัยส่วนบุคคลด้านเพศ ระดับการศึกษา สถานะ ส่งผลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานคืนภาษีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 1 นครปฐม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ปัจจัยกระบวนการในด้านนโยบายและการบริหารงาน ลักษณะของงาน คุณภาพการให้บริการ และความน่าเชื่อถือ มีอิทธิพลต่อความพึงพอใจของผู้ใช้บริการงานคืนภาษีของสำนักงานสรรพากรพื้นที่ 1 นครปฐม โดยมีค่า R2=.642 หรือคิดเป็น 64.20
References
เอกสารอ้างอิง
กรมสรรพากร. (1 เมษายน 2560). ความรู้ เรื่องภาษี. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2565, จาก http://www.rd.go.th.
นิชานันท์ ชาวนา. (2559). ปัญหาและอุปสรรคของการยื่นแบบและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านอินเตอร์เน็ต ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ 1 ชลบุรี. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจสำหรับผู้บริหาร). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยบูรพา.
พรพรรณ เดชะศิริประภา. (2562). การศึกษาข้อมูลส่วนบุคคล กระบวนการขั้นตอน และคุณภาพบริการในการยื่นแบบแสดงภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Revenue) ส่งผลต่อความพึงพอใจในการยื่นแบบของพนักงานบริษัทเอกชนในเขตสรรพากรพื้นที่ 10. กาค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ฟ้ารฬินฑ์ ฟ้าฎิษฐกุล. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้งานระบบยื่นภาษีแบบแสดงรายการและชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ตของผู้มีเงินได้ในเขตอำเภอลี้ จังหวัดลำพูน. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย ราชภัฏเชียงใหม่.
ไมตรี เชาวนา และรุจิกาญจน์ สานนท์. (2563). การประเมินการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่ผู้ส่งออก กรณีศึกษา สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 27. วารสารวิชาการสังคมศาสตร์เครือข่ายวิจัยประชาชื่น, 2(1), 1-13.
ระพีพร แก้วเจริญ. (2562). ความพึงพอใจของผู้ใช้บริการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาบริหารธุรกิจ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุจิตรา ทองปาน. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในการใช้บริการชำระภาษีผ่านอินเตอร์เน็ตของประชากรเขตห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุปราณี บุญประชุม. (2564). คุณภาพการให้บริการที่ส่งผลต่อความพึงพอใจของงผู้ใช้บริการสำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร 12 สาขาสวนหลวง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สุรีย์ วงศ์วณิช. (2561). ความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการยื่นแบบและชำระภาษีผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตของผู้เสียภาษีในเขตสำนักงานสรรพากรพื้นที่จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการ). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพิษณุโลก.
Best, J. W. (1977). Research in Education (3rd ed). New Jersey: Prentice-hall Inc.
Cochran, W. G., Mosteller, F., & Tukey, J. W. (1953). Statistical problems of the Kinsey report. Journal of the American Statistical Association, 48(264), 673-716.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of psychology. 22(140), 1-55.