ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่องปริมาตรของรูปทรงสามมิติ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ กาบแก้ว มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม
  • วนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์

คำสำคัญ:

คำสำคัญ: การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลอง; การเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) เพื่อศึกษาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่องปริมาตรของรูปทรงสามมิติ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) เพื่อศึกษาผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลองที่มีต่อความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรของรูปทรงสามมิติ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้เรียนจำนวน 36 คน โรงเรียนมัธยมศึกษาแห่งหนึ่งในจังหวัดกำแพงเพชร ผู้วิจัยใช้รูปแบบการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน จำนวน 3 วงจรปฏิบัติการ โดยใช้ระยะเวลาทั้งหมด 12 คาบ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 2) แบบสะท้อนผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 3) ใบกิจกรรม และ 4) แบบวัดความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ปริมาตรของรูปทรงสามมิติ ข้อมูลที่ได้จะนำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและวิเคราะห์แบบแยกประเด็น  

ผลการวิจัย พบว่า  

1) แนวทางการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดโครงงานเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลอง เพื่อพัฒนาทักษะการเชื่อมโยงของผู้เรียนนั้น มีประเด็นที่ควรเน้น คือ ครูผู้สอนควรทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษากระตุ้นถาม และติดตามในการทำกิจกรรมกลุ่มผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ ครูผู้สอนจะต้องมีบทบาทช่วยในการอธิบาย และช่วยสร้างแนวทางการเลือกหัวข้อปัญหาให้กับผู้เรียน

2) ผู้เรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการเชื่อมโยงระหว่างคณิตศาสตร์กับคณิตศาสตร์ การเชื่อมโยงระหว่างคณิตศาสตร์กับศาสตร์อื่น ๆ และการเชื่อมโยงระหว่างคณิตศาสตร์กับชีวิตจริง อยู่ในระดับดีมาก ซึ่งผู้เรียนสามารถเลือกหัวข้อ และกำหนดหัวข้อสถานการณ์หรือปัญหาเกี่ยวกับปริมาตรของรูปทรงสามมิติที่มีความเกี่ยวข้องกับชีวิตจริงได้ มีการนำความรู้จากศาสตร์ต่าง ๆ มาช่วยในการแก้ปัญหา และผู้เรียนสามารถแก้ปัญหาได้อย่างสมเหตุสมผล  

References

เอกสารอ้างอิง : References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

จิราภรณ์ ทัพซ้าย. (2564). STEM Education เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. Journal of Buddhist Education and Research . 7(2). 288-299.

ทิศนา แขมมณี. (2563). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธนิษฐา โพธิ์อ่อง. (2564). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามแนวคิดโครงงานเป็นฐานเพื่อ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์ เรื่อง ปริมาตรและความจุของทรงสี่เหลี่ยมมุมฉาก ของผู้เรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก: คณะศึกษาศาสตร์.

พรรณวิไล ชมชิด. (2552). การจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์โดยใช้แบบจำลอง. นิตยสาร สสวท, 38(163), 33-34.

ภรทิพย์ สุภัทรชัยวงศ์. (2556). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนาแบบจำลอง ทางความคิดเรื่องโครงสร้างอะตอมและความเข้าใจธรรมชาติแบบจำลองของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 4 (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ศศิธร แม้นสงวน. (2556). พฤติกรรมการสอนคณิตศาสตร์ 2 (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555 ข). การวัดและประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). การจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ทิศทางสำหรับครูศตวรรษที่ 21. เพชรบูรณ์: จุลดิ สการพิมพ์.

สิรินทรา มินทะชัติ. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem- BasedLearning) เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ที่มีผลต่อความสามารถในการคิดวิเคราะห์ และ ความสามารถในการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อังคณา ตุงคะสมิต. (2559). สังคมศึกษาในโลกอาเซียน Social studies in ASEAN Community. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

อัมพร ม้าคนอง. (2553). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์:การพัฒนาเพื่อพัฒนาการ. กรุงเทพฯ: โรง พิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อารยา ควัฒน์กุล. (2558). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาเคมี เรื่อง สารชีวโมเลกุลด้วยการเรียนรู้โดยใช้ แบบจำลองเป็นฐานเพื่อพัฒนามโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ และความสามารถในการสร้าง แบบจำลอง ทางวิทยาศาสตร์ สำหรับผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย บูรพา 26(2), 42-55.

Dossey, J. A. (2002). Mathematics Methods and Modeling for Today's Mathematics Classroom; A Contemporary Approach to Teaching Grade 7-12. Pecific Grove,CA: Brooks Cole.

Gilbert, J.K., & C.J. Boulter. (2000). Deverloping models in science education. New York: Kluwer Acadamic Publishers.

Harrison, A. G. & D. F. Treagust. (2000). Learning about atom, molecules, and chemical bonds: A case study of multiple-model use in grade 11 chemistry. Science Education, 84(13), 352-381.

Hasbi, M., Lukito, A., Sulaiman, R., & Muzaini, M. (2019). Improving the Mathematical Connection Ability of Middle-School Students through Realistic Mathematics Approach. Journal of Mathematical Pedagogy (JoMP), 1(1), 37-46.

National Council of Teachers of Mathematics (NCTM). (2000). Principles and Standards for School Mathematics. Virginia, Reston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-03-31

How to Cite

กาบแก้ว เ. ., กลิ่นเอี่ยม จ. ., & พูนไพบูลย์พิพัฒน์ ว. . (2024). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้โครงงานเป็นฐานร่วมกับการสร้างแบบจำลอง ที่ส่งเสริมความสามารถในการเชื่อมโยงทางคณิตศาสตร์ เรื่องปริมาตรของรูปทรงสามมิติ ของผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 10(1), 125–141. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/272712