วัตถุ ๑๐ ประการ : กำเนิดมหายาน

ผู้แต่ง

  • พระมหาภัฏชวัชร์ เขมทสฺสี

คำสำคัญ:

การแตกแยกของนิกายต่างๆ, วัตถุ ๑๐ ประการ, กำเนิดมหายาน

บทคัดย่อ

ต้นกำเนิดมหายานนั้นบางคัมภีร์กล่าวว่ามีสาเหตุมาจากการทำสังคายนาครั้งที่ ๑ และครั้งที่ ๒ มูลเหตุของการเกิดพระพุทธศาสนานิกายมหายานนั้นแท้จริงเป็นเช่นไร   ก็ยังเป็นประเด็นปัญหาถกเถียงกันอยู่จนถึงปัจจุบัน  ประเด็นหลักใหญ่ที่ทำให้พระพุทธศาสนานิกายมหายานกับเถรวาทยังมีข้อขัดแย้งกันอยู่นั้นมี  ๔  ประเด็น  คือ  เรื่องพระพุทธเจ้า   เรื่องพระโพธิสัตว์  เรื่องศูนยตา  และเรื่องนิพพาน

 

สาเหตุของการแตกแยกเป็นนิกายต่างๆนั้น  ไม่ใช่เรื่องของวัตถุ  ๑๐  ประการเป็นสาเหตุหลัก  แต่เป็นเรื่องของความไม่ยอมลดทิฏฐิมานะของแต่ละฝ่าย  เพราะต่างฝ่ายต่างก็ไม่ยอมรับนับถือกันและกันในความเห็นที่ขัดแย้ง  เพราะวัตถุ  ๑๐  ประการนั้นไม่ใช่อาบัติชั่วหยาบ  ไม่ใช่อาบัติหนัก  ไม่ใช่อาบัติปานกลาง  เป็นอาบัติที่มีโทษน้อย  อาบัติหนักเช่น  ปาราชิก  อาบัติกลางเช่น  สังฆาทิเสส  ฝ่ายภิกขุวัชชีบุตรก็ยังยอมรับนับถืออยู่  ยังปฏิบัติตามอยู่ 

References

บรรณานุกรม
1.หนังสือ

สุชีพ ปุญญานุภาพ. พระไตรปิฎก ฉบับสำหรับประชาชน ย่อความจากพระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ๔๕ เล่ม. มหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์, พิมพ์ครั้งที่ ๑๗. กรุงเทพมหานคร : พิมพ์ที่ โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๕๐.
พันเอก(พิเศษ) นวม สงวนทรัพย์.พระพุทธศาสนาลัทธิมหายาน. กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหา
มกุฏราชวิทยาลัย. ๒๕๔๒.
พระอุดรคณาธิการ (ชวินทร์ สระคำ). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาในอินเดีย. มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ : พิมพ์ที่โรงพิมพ์มหาจุฬาลง
กรณราชวิทยาลัย. ๒๕๓๔.
พระธรรมเจดีย์ (ประกอบ ธมฺมเสฎฺโฐ). อธิบายวินัย สำหรับนักธรรมชั้นตรี ชั้นโท ชั้นเอก ฉบับกรมการศาสนา. ๒๕๔๗.
พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช ป.ธ.๙ ราชบัณฑิต). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุดคำวัด. วัดราชโอรสาราม. กรุงเทพฯ, ๒๕๔๘.

2.ออนไลน์


พระไตรปิฎกออนไลน์ <http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=07&A=7536&Z=7564>.
สืบค้นเมื่อ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.
พระไตรปิฎกออนไลน์ เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๑๐๙๙๓๒-๑๐๙๘๘. หน้าที่ ๔๕๘-๔๖๐, ข้อที่ ๕๑๒,
<http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=02&A=10932&Z=10988 >. สืบค้นเมื่อ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.
พระไตรปิฎกออนไลน์ เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๐๘๗๓ - ๑๐๙๓๑. หน้าที่ ๔๕๕ -๔๕๗.<http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=2&A=10873&Z=10931&pagebreak=0>.สืบค้นเมื่อ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.
พระไตรปิฎกออนไลน์ เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๑๙๑๕ - ๑๑๙๙๕. หน้าที่ ๕๐๕ – ๕๐๘.ข้อที่ ๕๗๗.<http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=02&A=11915&Z=11995>.สืบค้นเมื่อ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.
พระไตรปิฎกออนไลน์ เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๔๕๗๑ - ๑๔๖๓๒. หน้าที่ ๖๓๐ - ๖๓๒.ข้อที่๗๖๔.<http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=02&A=14571&Z=14632>.สืบค้นเมื่อ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.
พระไตรปิฎกออนไลน์ เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๒๕๖๗ - ๒๖๘๔. หน้าที่๑๐๘-๑๑๒.ข้อที่๑๐๕.<http://www.84000.org/tipitaka/read/v.php?B=02&A=2567&Z=2684>. สืบค้นเมื่อ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.
พระไตรปิฎกออนไลน์ เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๗๒๙๘ - ๗๓๖๙. หน้าที่ ๓๐๒ - ๓๐๔.
<http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=7298&Z=739>.สืบค้นเมื่อ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.
พระไตรปิฎกออนไลน์ เล่มที่ ๗ บรรทัดที่ ๗๔๔๐ - ๗๔๕๙. หน้าที่ ๓๐๘. ข้อที่ ๖๒๐.
<http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=7&A=7440&Z=7459&pagebreak=0>. สืบค้นเมื่อ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒ บรรทัดที่ ๑๐๖๙๕ - ๑๐๗๔๓. หน้าที่ ๔๔๖ – ๔๔๘. ข้อที่ ๔๙๙.
<http://www.84000.org/tipitaka/pitaka1/v.php?B=02&A=10695&Z=10743 >.สืบค้นเมื่อ ๒๓ สิงหาคม ๒๕๕๙.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-03-03