ปราสาทมีชัย: ประวัติและคุณค่าที่มีต่อวิถีชีวิตชาวพุทธ ในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์

ผู้แต่ง

  • พระบุญเสร็จ จนฺทาโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • พระอรุณ เตชพโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์
  • ธนรัฐ สะอาดเอี่ยม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์

คำสำคัญ:

คุณค่า,, ชาวพุทธ,, ปราสาทมีชัย, จังหวัดสุรินทร์

บทคัดย่อ

ปราสาทมีชัยหรือหมื่นชัย สร้างขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 15 ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งราชอาณาจักรขอมโบราณ ศิลปะขอมแบบแปรรูป (Pre Rup)  เป็น “อโรคยาศาล” หรือโรงพยาบาลเพื่อให้ผู้คนสมัยก่อนได้มาพักรักษาตัว วิถีชีวิตชาวพุทธในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ จะผูกพันกันทางสังคมอย่างแนบแน่นด้วยการเกี่ยวพันกันทางการแต่งงาน ซึ่งจะเป็นชาวกวย เขมร และลาว จึงทำให้มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมและประเพณี  และคุณค่าของปราสาทมีชัยที่มีต่อวิถีชีวิตใน 4 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านร่างกาย การได้มารักษาตัวที่อโรคยาศาลผู้คนหายจากเจ็บไข้ได้ป่วย ทำให้ร่างกายแข็งแรงอันจะมีผลต่อสุขภาพใจด้วย 2) คุณค่าด้านจิตใจ การบนบานเพื่อให้หายป่วยถือได้ว่าเป็นยาทางใจ เป็นที่พึ่งหรือที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจ รวมถึงการรับรู้ความงามทางใจของศิลปะปราสาทมีชัย 3) คุณค่าด้านความสามัคคี ชุมชนพร้อมเพรียงกันจัดงานประเพณีบวงสรวงเป็นประจำปีทุกปี         4) คุณค่าด้านอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมชุมชน การไม่นำเศษหินหรือดินไปไว้ในครอบครองของตน การจัดงานประเพณีบวงสรวงในวันที่ 9 เดือน 9 ของทุกปี เพื่อเป็นการอนุรักษ์มรดกทางศิลปวัฒนธรรมชุมชนให้ชนรุ่นหลังได้ศึกษาภูมิหลังของบรรพบุรุษ และรากเหง้าความเป็นมาของชุมชน ดังนั้น บทความนี้จึงได้กำหนดวัตถุประสงค์ในการนำศึกษาไว้ 3 ประเด็น คือ 1) ประวัติและความเป็นมาของปราสาทมีชัย  2) วิถีชีวิตชาวพุทธในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ และ 3) คุณค่าของปราสาทมีชัยที่มีต่อ วิถีชีวิตชาวพุทธในอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์ โดยการศึกษาเชิงเอกสาร และสัมภาษณ์แล้วนำเสนอด้วยวิธีการพรรณนาเชิงวิเคราะห์

References

โกสุม สายใจ และคณะ. (2547). สุนทรียะภาพของชีวิต. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัย ราชภัฎสวนดุสิต.
จำนงค์ ใจหนึ่ง. (2564). ผู้ใหญ่บ้านถนน. ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์ 11 กันยายน 2564.
ทัศภรณ์ แซ่ตั้ง. (2540). ความเชื่อเกี่ยวกับการบนบานและการแก้บน: กรณีศึกษาบ้านป่ากั้ง หมู่ที่ 5 ตำบลท่าแฝก อำเภอท่าปลา จังหวัดอุตรดิตถ์. สารนิพนธ์ประกาศนียบัตรบัณฑิต. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
บ้านหมื่นชัย. (2564). ปราสาทมีชัยหรือหมื่นชัย. (ออนไลน์). https: //www. haimiceconnect. .com/business/detail/10379?page=เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2564.
ปักหมุดเมืองไทย. (2564). วัดปราสาทมีชัย. (ออนไลน์). https://pukmudmuangthai. com/ detail/7419[12 กันยายน 2564].
ไพฑูรย์ มีกุศล. (2534). วัฒนธรรมแม่น้ำมูลเชิงชาติพันธุ์วิทยาและประวัติศาสตร์ กรณีการผสมกลมกลืนของกลุ่มชาติพันธุ์ กวย เขมร และลาว วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล : กรณี เขมร ลาว ส่วย สุรินทร์. กรุงเทพฯ : สารมวลชน.
พระครูสิริ รัตนานุวัตร. (2556). การบนบาน บวงสรวง: แนวคิด หลักการ อิทธิพล ต่อสังคมไทย. บทสังเคราะห์งานวิจัย. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย สถาบันวิจัยพุทธศาสตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: บริษัท นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์ จำกัด.
วิโรจน์ ชีวาสุขถาวร. (2558). ความสมดุลของการใช้พื้นที่ภายในโบราณสถานกับการอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรม กรณีศึกษาศาสนสถานประจําอโรคยาศาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมสรรค์สร้าง. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรรณวิภา สุเนต์ตา. (2548). ชัยวรมันที่ 7 มหาราชองค์สุดท้ายของอาณาจักรกัมพูชาผู้เนรมิตสถาปนาปราสาทบายน และเมืองนครธม. กรุงเทพฯ : มติชน.
ราชกิจจานุเบกษา. (2524). ประกาศกรมศิลปากร. เล่มที่ 98 ตอนที่ 104 เมื่อ 30 มิถุนายน 2524 ประกาศ ณ วันที่ 28 เมษายน 2524.
พระทองดำ อภินนฺโท. (2564). พระลูกวัดปราสาทมีชัย. ตำบลกระเทียม อำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. สัมภาษณ์ 11 กันยายน 2564.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2547). ธรรมนูญชีวิต. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา
พระสมพงษ์ ชินวํโส, พระมหาดวงเด่น ฐิตญาโณ, และขันทอง วัฒนะประดิษฐ์. (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธสันติวิธี เพื่อพัฒนาการทำงานเป็นทีมของพระวิทยากรวิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6 (1), 119-133.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอสังขะ จังหวัดสุรินทร์. ประวัติความเป็นมา. (ออนไลน์). https://district.cdd.go.th/sangkha/โครงสร้างบุคลากร/ประวัติความเป็นมา/เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2564.
สายันต์ ไพรชาญจิตร์. (2550). การจัดการทรัพยากรทางโบราณคดีในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ : โครงการหนังสือโบราณคดีชุมชน.
สารจากผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์. (2556). เส้นทางอารยธรรมมรดกล้ำค่าสุรินทร์. พิมพ์ครั้งแรก. สำนักงานจังหวัดสุรินทร์ ศาลากลางจังหวัดสุรินทร์ อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์.
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนโดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9. (2548). เล่ม 30. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.
หน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมศิลปกรรมท้องถิ่น ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดสุรินทร์ วิทยาลัยครูสุรินทร์. (2534). ย้อนอดีตเมืองสุรินทร์. รายงานการสํารวจสิ่งแวดล้อมศิลปกรรมในจังหวัดสุรินทร์. วัฒนธรรมลุ่มแม่น้ำมูล : กรณีเขมร ลาว ส่วย สุรินทร์. กรุงเทพฯ : สารมวลชน.
องค์การบริหารส่วนจังหวัดสุรินทร์. ประเพณีวัฒนธรรม. (ออนไลน์). http://www. surinpao.org/userfiles/s2.pdfเข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ.2564.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-12-23