ผลของการใช้กิจกรรมพลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทยต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับประถมศึกษา
คำสำคัญ:
กิจกรรมพลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทย, ทักษะทางสังคม, นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการใช้กิจกรรมพลศึกษาโดยใช้การละเล่นพื้นบ้านไทยต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้นระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนมหฤทัยคริสเตียนที่เรียนวิชาพลศึกษา (การละเล่นพื้นบ้าน) แบ่งเป็นกลุ่มควบคุม 16 คน และกลุ่มทดลอง 16 คน ได้มาโดยกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ เครื่องมือที่ใช้ในการดำเนินการทดลอง คือ แผนการจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น จำนวน 8 แผน ระยะเวลา 8 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 3 วัน โดยมีค่าความสอดคล้อง เท่ากับ 0.87 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบวัดทักษะทางสังคม โดยมีค่าความสอดคล้อง เท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ Dependent sample t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มทดลองและเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมก่อนและหลังการทดลองของกลุ่มควบคุม Independent sample t-test เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนทักษะทางสังคมระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดลอง พบว่า ข้อมูลกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 32 คน มีอายุเฉลี่ย 6-12 ปี โดยแบ่งเป็นกลุ่มควบคุมแบ่งเป็นเพศชาย 6 คน (ร้อยละ 37.5) และเพศหญิง 10 คน (ร้อยละ 62.5) และกลุ่มควบคุม แบ่งเป็นเพศชาย 6 คน (ร้อยละ 37.5) และเพศหญิง 10 คน ค่าเฉลี่ยทักษะทางสังคมระหว่างกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง แตกแต่งกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในด้านการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ด้านทักษะในการสื่อสาร ด้านการให้ความร่วมมือ และการเป็นผู้นำผู้ตามที่ดี ในทางตรงกันข้าม พบว่า ด้านการแก้ไขปัญหาแตกแต่งกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2560). การละเล่นพื้นบ้าน (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: เอส.ออฟเซ็ทกราฟฟิคดีไซน์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2562). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติมจนถึง (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: คุรุสภา ลาดพร้าว.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2553). ความคิดสร้างสรรค์ (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: ซัคเซสมีเดีย.
ชัชชัย โกมารทัต. (2549). กีฬาพื้นเมืองไทยภาคกลาง. กรุงเทพฯ: บริษัทเยลโล่การพิมพ์.
ฐาณรงค์ ทุเรียน. (2560). ผลการจัดการเรียนรู้พลศึกษาโดยใช้รูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือที่มีต่อทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
ฐิรภัทร อภิชิตตระกูล. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้พลศึกษาแบบร่วมมือที่มีต่อความสามัคคีและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
ณัฐวุฒิ สังข์ทอง. (2554). ผลการใช้กิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยในเขตภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ธัญวลัย กุลวงษ์. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถด้านการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง วิกฤตการณ์สิ่งแวดล้อมด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้กรณีศึกษาและการแก้ปัญหา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ปวินญาพัฒน์ วรพันธ์. (2561). แนวทางการจัดการเรียนรู้สังคมศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
พรพรรณ มากบุญ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อทักษะทางสังคมของเด็กและเยาวชนชายในศูนย์ฝึกและอบรมเด็กและเยาวชนเขต 2 จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).
พันธุ์ทิพย์ นิลพันธ์. (2558). การพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนออทิสติกด้วยกิจกรรมประกอบอาหาร: กรณีศึกษาโรงเรียนวัดจันทนาราม จังหวัดจันทบุรี. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).
พิมพิกา ตันสุวรรณ. (2561). ผลของกลุ่มการเล่นบำบัดแบบเกสตัลท์ต่อการพัฒนาทักษะทางสังคมในเด็กชั้นประถมศึกษาตอนปลาย. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
รัตนา มณีจันสุข. (2550). ความสามารถในการแก้ปัญหาของเด็กประถมวัยที่ได้รับประสบการณ์การละเล่นพื้นบ้านไทย. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
วีรณา ปะกิลาภัง. (2558). การจัดกิจกรรมการละเล่นพื้นบ้านอีสานเพื่อสร้างเสริมทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
ประคอง กรรณสูต. (2542). สถิติเพื่อการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วรารัตน์ เสริมทรง. (2557). ผลการเปรียบเทียบพัฒนาการด้านสติปัญญาและทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ระหว่างการจัดประสบการณ์ด้วยกิจกรรมเกมการศึกษากับการใช้แบบฝึกหัดเสริมทักษะ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม).
สุปราณี แก้วขุมเหล็ก. (2559). การพัฒนาการจัดประสบการณ์การส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาและทักษะทางสังคมของเด็กปฐมวัยโดยใช้การละเล่นพื้นบ้าน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏสารคาม).
สุมาลี บัวหลวง. (2557). ผลของการใช้เกมการเล่นกลางแจ้งที่มีต่อพฤติกรรมร่วมมือของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี).
อรพรรณ พรสีมา. (2540). เทคโนโลยีทางการสอน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
อังศุธร อังคะนิต. (2557). ผลของการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบแบบมีส่วนร่วมเพื่อพัฒนาการละเล่นพื้นบ้านที่ผสมผสานภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีต่อทักษะทางสังคมของเด็กในชุมชน. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2544). สร้าง EQ ให้ลูกคุณ. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและพัฒนาครอบครัว.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal of Buddhist Education and Research (Online)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.