ผลของการฝึกด้วยหลักสูตรพลัยโอเมตริกที่มีผลต่อความเร็วในการเตะเฉียงของนักกีฬาคาราเต้โด ประเภทต่อสู้ระดับมหาวิทยาลัย
คำสำคัญ:
หลักสูตรพลัยโอเมตริก, ความเร็วในการเตะเฉียง, คาราเต้โดประเภทต่อสู้บทคัดย่อ
การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น (Pre-experimental research) นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของหลักสูตรพลัยโอเมตริกต่อความเร็วในการเตะเฉียง โดยเปรียบเทียบระหว่างก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 ของนักกีฬาคาราเต้โด ประเภทต่อสู้ระดับมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักกีฬาคาราเต้โด ประเภทต่อสู้ระดับมหาวิทยาลัย จำนวน 15 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม Cluster random sampling เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง คือ โปรแกรมการฝึกด้วยพลัยโอเมตริก จำนวน 8 สัปดาห์ (วันจันทร์ วันพุธ และ วันศุกร์) วันละ 1.30 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบทดสอบความสามารถในการเตะเฉียง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน One–way analysis of variance with repeated measures และ Kruskal-wallis one-way analysis of variance กำหนดค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเร็วในการเตะเฉียง ก่อนการฝึก หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของ Wilcoxon rank sum test พบว่า ความเร็วในการเตะเฉียง ระหว่างก่อนฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 ก่อนการฝึกและหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 4 และหลังการฝึกสัปดาห์ที่ 8 แตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ
References
กรมพลศึกษา. (2562). แบบทดสอบและเกณฑ์มาตรฐานสมรรถภาพทางกายของประชาชนอายุ 19-59 ปี. กรุงเทพฯ: สำนักวิทยาศาสตร์การกีฬา กรมพลศึกษา กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กฤษดา เพียยุระ และโรจพล บูรณรักษ์. (2563). ความเชื่อมั่นและความเที่ยงตรงของเครื่องนับจำนวนครั้งและวัดความเร็วการเตะในกีฬาเทควันโดที่สร้างขึ้นเองในการทดสอบทักษะการเตะเฉียงในกีฬาเทควันโดสำหรับนักกีฬาเทควันโดระดับเยาวชน. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 31(3), 1-48.
เจริญสุข อ่าวอุดมพันธุ์. (2563). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกร่วมกับการฝึกวิ่งด้วยความเร็วสูงสุดแบบแรงต้านที่มีต่อความเร็วและสมรรถภาพเชิงแอนแอโรบิก. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ถาวร กมุทศรี. (2560). การเสริมสร้างสมรรถภาพทางกาย. กรุงเทพฯ: หจก. มีเดีย เพรส.
ทวีสุข เชี่ยวชาญปรีชากุล. (2556). การศึกษาการใช้จินตภาพของนักกีฬาคาราเต้โดในประเทศไทย. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
นพพร ทัศบุตร. (2551). ความพึงพอใจของผู้บริโภคที่มาใช้บริการโรงเรียนสอนศิลปะป้องกันตัวเทควันโด. (วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต).
ประทีป ปุณวัฒนา และคณะ. (2566). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อความเร็ว ความคล่องแคล่วว่องไว และพลังกล้ามเนื้อขาของนักกีฬาเซปักตะกร้อ. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 34(2), 99-109.
มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตอุดรธานี. (2565). ระบบงานทะเบียน. สืบค้นจาก http://113.53.230.188/web/.
เมธาสิทธิ์ ถาไชยลา. (2561). ผลของโปรแกรมการฝึกพลัยโอเมตริกควบคู่การฝึก เอส เอ คิว ที่มีต่อความเร็วและความคล่องแคล่วว่องไวของนักกีฬาฟุตบอล. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
สินีนุช โสฬส. (2560). ผลของการฝึกเสริมด้วยการฝึกเชิงซ้อนที่มีต่อสมรรถภาพของกล้ามเนื้อในนักกีฬาบาสเกตบอลหญิงระดับเยาวชน. (วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
วราภรณ์ แก้วเมฆ. (2562). ผลของการฝึกพลัยโอเมตริกที่มีต่อพลังกล้ามเนื้อขาในนักกีฬามวยปล้ำของโรงเรียนกีฬาจังหวัดสุพรรณบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ).
อรุณ จิรวัฒน์กุล. (2560). สถิติทางวิทยาศาสตร์สุขภาพเพื่อการวิจัย. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.
Beato, M., Bianchi, M., Coratella, G., Metline, M., & Drust, B. (2018). Effects of plyometric and directional training on speed and jump performance in elite youth soccer players. Journal of Strength and Conditioning Research, 32(2), 289-296.
Benjamin, F., Luke, M., Perraton, G., Kelly, J., Brooke, B., Yong-Hao, P., Williams, P., McGaw, R., & Ross, A. (2015). Assessment of lower limb muscle strength and power using hand-held and fixed dynamometry. PLOS ONE, 10(10), 1-12.
Bounty, P. M. L., Campbell, B. I., Wilson, J., Galvan, E., Berardi, J., Kleiner, S. M., Kreider, R. B., Stout, J. R., Ziegenfuss, T., Spano, M., Smith, A., & Antonio, J. (2011). International Society of Sports Nutrition position stand: Meal frequency. Journal of the International Society of Sports Nutrition, 8(4), 1-12.
Earp, J., Newton, R., Cormie, P., & Blazevich, A. (2015). Inhomogeneous quadriceps femoris hypertrophy in response to strength and power training. Medicine & Science in Sports & Exercise, 47(11), 2389–2397.
Ioannis, N. K., Methenitis, S., Tsoukos, A., Veligekas, P., Terzis, G., & Bogdanis, C. (2018). The effect of short-term sport-specific strength and conditioning training on physical fitness of well-trained mixed martial arts athletes. Journal of Sports Science & Medicine, 17(3), 348-358.
Kubo, K., Ishigaki, T., & Ikebukuro, T. (2017). Effects of plyometric and isometric training on muscle and tendon stiffness in vivo. Physiology Reports, 5(15), 1-13.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal of Buddhist Education and Research (Online)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.