การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

ผู้แต่ง

  • กรรณิการ์ ธนูแก้ว มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำสำคัญ:

การคิดเชิงระบบ, การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน, รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน

บทคัดย่อ

              การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวทางการจัดการเรียนรู้และเพื่อศึกษาผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 คน ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดแพร่ ผู้วิจัยใช้รูปแบบวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ ใบกิจกรรม แบบสะท้อนผลการจัดการเรียนรู้ และแบบวัดการคิดเชิงระบบ ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาและวิเคราะห์แบบแยกประเด็น         

              ผลการวิจัยพบว่า

  1.     แนวทางการจัดการเรียนรู้ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน ในแต่ละขั้นตอนการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐาน มีดังนี้ ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนประสบการณ์และกระตุ้นการเรียนรู้ ควรใช้คำถามเพื่อทบทวนความรู้เดิม จัดหาสื่อหรือกิจกรรมเพื่อดึงดูดความสนใจ ขั้นที่ 2 ขั้นกิจกรรม ควรเป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ปัญหาในชีวิตจริง มีการใช้คำถามเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ ขั้นที่ 3 ขั้นสะท้อนความคิดและขั้นที่ 4 ขั้นประเมินผล ควรใช้คำถามกระตุ้นการเรียนรู้เพื่อนำไปสู่การอภิปรายร่วมกัน ขั้นที่ 5 ขั้นประยุกต์ใช้ ควรให้คำแนะนำเมื่อเกิดปัญหาในการหาคำตอบ
  2. นักเรียนส่วนใหญ่มีความสามารถในการคิดเชิงระบบอยู่ในระดับดีมาก กล่าวได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานช่วยพัฒนาความสามารถในการคิดเชิงระบบได้

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์(ฉบับ ปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กฤษฎา วรพิน, อรรฆพร วงษ์ประดิษฐ์, สุบิน ยมบ้านกวย และสาธิต จันทรวินิจ. (2565). การเรียนรู้โดยใช้ กิจกรรมเป็นฐานในชั้นเรียนวิชาคณิตศาสตร์. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 20(1), 31-46.

นิยม กิมานุวัฒน์. (2559). การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการคิดเชิงระบบสำหรับนักเรียน ระดับมัธยมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. 27(1), 61-73.

นพคุณ นิศามณี. (2549). การคิดเชิงระบบและความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพ: ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

ปารมี ศรีบุญทิพย์. (2560). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้เชิงบูรณาการเพื่อเสริมสร้างการคิดเชิงระบบสําหรับ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยของรัฐ. กรุงเทพ: มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ.

วิลาวัลย์ โพธิ์ทอง. (2555). เครื่องมือช่วยคิดเพื่อพัฒนาการคิดเชิงระบบ. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร. 10(2), 30-42.

สิรินภา กิจเกื้อกูล. (2557). งานวิจัยเชิงคุณภาพ: กระบวนทัศน์ที่แตกต่างและมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน. วารสาร ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. 20(1), 272-283.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.(2562).แนวทางการนิเทศเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการจัดการ เรียนรู้เชิงรุก(Active Learning).

อำนาจ วิชาพล. (2556). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นการเชื่อมโยงในชีวิตจริง เรื่อง สถิติสำหรับ นักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศเบญจมราชาลัย. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร. 8(2), 81-88.

Çelik, H. C. (2018). The Effects of Activity Based Learning on Sixth Grade Students’ Achievement and Attitudes towards Mathematics Activities. Eurasia Journal of Mathematics, Science and Technology Education, 14(5), 1963-1977.

Senge, P. M. (1990). The Fifth Discipline: The Art and Practice of Learning Organization (1st.). New York: Doubleday/Currency.

R Noreen and AMK Rana. (2019). Activity-Based Teaching versus Traditional Method of Teaching in Mathematics at Elementary Level. Bulletin of Education and Research August 2019, 41(2), 145-159.

Yüksel I. (2014). Impact of activity – based mathematics instruction on students with different prior knowledge and reading abilities. Int J of Sci and Math Educ 12, 1445–1468.

McGrath, Jenny Rebecca. 2011. Linking Pedagogical Practices of Activity-based Teaching. The International Journal of Interdisciplinary Social Sciences, Annual Review 6(3), 261-274.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-06-30

How to Cite

ธนูแก้ว ก. ., & กลิ่นเอี่ยม จ. . (2024). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์โดยใช้กิจกรรมเป็นฐานเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดเชิงระบบ เรื่อง รูปสี่เหลี่ยมด้านขนาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 10(2), 1–15. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/275970