การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้รูปแบบ Flipped Classroom ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ศูนย์เครือข่ายบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ขอนแก่น เขต 5 จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้, รายวิชาพระพุทธศาสนา, Flipped Classroomบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและแนวทางการจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนของนักเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้รูปแบบ Flipped Classroom ศูนย์เครือข่ายบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่นเขต 5 จังหวัดขอนแก่น ประขากรกลุ่มทดลอง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนหนองหอยเทพเทวัญ ตำบลจระเข้ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น จำนวน 24 คน โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพการจัดการเรียนรู้ 2) แบบสัมภาษณ์สภาพและแนวทางการจัดการเรียนรู้ 3) แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ 4) แผนการจัดการเรียนรู้ 5) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน รายวิชาพระพุทธศาสนา 6) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติกลุ่มตัวอย่างที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และการหาค่าประสิทธิภาพ ( / ) โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์วิเคราะห์สถิติสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1) สภาพและแนวทางการจัดการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 ศูนย์เครือข่ายบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จังหวัดขอนแก่น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลการพัฒนาแบบฝึกทักษะการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้รูปแบบ Flipped Classroom ศูนย์เครือข่ายบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จังหวัดขอนแก่น มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.85/83.30 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่า นักเรียนมีค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนเรียน เท่ากับ 13.24 และค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังเรียนเท่ากับ 28.82 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ .05
4) ความพึงพอใจที่มีต่อการใช้แบบฝึกทักษะการเรียนรู้ รายวิชาพระพุทธศาสนา โดยใช้รูปแบบ Flipped Classroom ศูนย์เครือข่ายบูรพา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 จังหวัดขอนแก่น พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมาก
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 ฉบับที่ 2 แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
________. (2553). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 3.กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ขวัญจิตร วิรัตน์จันทร์. (2562). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสาระภูมิศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3/3 โรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร โดยใช้ แบบฝึก ทักษะทางการเรียน. รายงานการวิจัย, โรงเรียนวัดผาสุกมณีจักร.
ทิชานนท์ ชุมแวงวาปีและลัดดา ศิลาน้อย. (2558). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการแก้ปัญหา ด้วยวิธีการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานร่วมกับเทคนิคห้องเรียนกลับด้านของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 1 ในรายวิชาสังคมศึกษาส 21103. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 38(4), 7.
นครรัฐ โชติพรม และคณะ. (2562). การพัฒนาทักษะการคิด แบบโยนิโสมนสิการ ในรายวิชาพระพุทธศาสนาสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. วไลยอลงกรณ์ปริทัศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ;ไลอลงกรณ์,9(2), 108-120.
ลำยง เครือคำ. (2555). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนเรียงความโดยใช้แผนที่ความคิด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.