การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร

ผู้แต่ง

  • ดอกแก้ว มะโนมัย มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • นวรัตน์ ไวชมภู มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ความคิดเห็น, การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม, เด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร โดยจำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา และอาชีพของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองนักเรียน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่ และมอร์แกน ได้จำนวน 144 คน และสุ่มอย่างง่ายด้วยการจับฉลากแบบไม่ใส่คืน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ หาค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาด้วยการวิเคราะห์หาค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ มีค่าระหว่าง 0.67-1.00 และหาค่าความเชื่อมั่นโดยค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาคเท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบ่ียงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่า T-test  การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลวิจัย พบว่า 1. การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2. ผู้ปกครองที่มีอายุและรายได้ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร โดยภาพรวมไม่แตกต่าง 3. การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร คือ สถานศึกษาควรมีการรับสมัครนักเรียนในระบบออนไลน์ และผู้ปกครองสามารถเข้าไปสมัครเรียนให้กับลูกได้ สถานศึกษาควรมีการคัดกรองประเภทความพิการอีกครั้ง โดยใช้ใบรับรองแพทย์ที่ได้จากโรงพยาบาลมาเป็นข้อมูลพื้นฐาน ผู้ปกครองมีส่วนร่วมในการประเมินความสามารถพื้นฐานของนักเรียน ควรมีการให้ความรู้เรื่องการประเมินความสามารถพื้นฐานของนักเรียน ควรจัดให้มีนักสหวิชาชีพ ออกให้บริการนักเรียนตามบ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อพัฒนาการที่ดีขึ้นของนักเรียนพิการทางด้านร่างกาย สถานศึกษาควรรายงานผลระบบออนไลน์ สถานศึกษาควรจัดทำคู่มือการฝึกนักเรียนหรือวิดีโอการฝึกนักเรียนในพัฒนาการด้านต่าง ๆ สถานศึกษาควรให้มีการจัดทำห้องเรียนที่ฝึกนักเรียนเพื่อส่งต่อเรียนรวม

References

เกตอรอินท์ พิทักษ์โคชญากุล. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารระบบการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม สำหรับเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดศรีสะเกษ. ศูนย์การศึกษาพิเศษ. ศรีสะเกษ.

บุญสิตา วงศรี. (2560). ศึกษาสภาพการดำเนินงานการให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กพิการของ ศูนย์การศึกษาพิเศษในเขตภาคเหนือ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, พะเยา.

มนัชญา แก้วอินทรชัย และสุกัญญา แช่มช้อย. (2565). แนวทางพัฒนาการบริหารงานการให้บริการช่วยเหลือเด็กพิการตามแนวคิดการเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบโรงเรียนเรียนร่วม. วารสารนวัตกรรมการศึกษาและการวิจัย, 6(1).

วุฒิชัย ใจนะภา และธารินทร์ รสานนท์ (2563). ความคิดเห็นของผู้ปกครองเกี่ยวกับปัจจัยที่ใช้ในการตัดสินใจส่งบุตรหลาน ที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษ เข้ารับบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่ม ในศูนย์การศึกษาพิเศษ ส่วนกลาง กรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์วิจัย. 11 (2).

ศุภาวรรณ แก้วทิพย์. (2561). การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือตอนล่าง กลุ่ม 5. วารสารวิจยวิชาการ, 1(1).

ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร. (2567). ประวัติความเป็นมาการจัดตั้งศูนย์การศึกษาพิเศษ.

Sehu Mohamad, Z. & Tan, E. (2019). Early Intervention Services for Special Needs Children: An Exploration of the Effectiveness of Early Special Education in Malaysia. Psychological Research and Intervention, 2(1).

Ziviani, J., Feeney, R. & Khan, A. (2021). Early intervention services for children with physical disabilities: Parents’ perceptions of family-centeredness and service satisfaction. Infants & Young Children, 24(4).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

มะโนมัย ด. ., & ไวชมภู น. . (2024). การให้บริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มตามความคิดเห็นของผู้ปกครอง เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดยโสธร. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 10(4), 279–292. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/279338