การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเกมทางการศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4

ผู้แต่ง

  • ดุสิตา พรหมมี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ภาสุดา ภาคาผล มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ, การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL-Plus, เกมทางการศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเกมทางการศึกษาให้มีประสิทธิภาพ 2) เปรียบเทียบทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเกมทางการศึกษา กับกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเกมทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนย่านตาขาวรัฐชนูปถัมภ์ ที่ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย จำนวน 62 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) เกมทางการศึกษา 2) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเกมทางการศึกษา 3) แผนการจัดการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบปกติ 4) แบบทดสอบทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ 5) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน โดยใช้สถิติทดสอบ t-test (Independent Samples) ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) เกมทางการศึกษามีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.53/82.78 สอดคล้องตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ 80/80 2) นักเรียนกลุ่มทดลองที่เรียนด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเกมทางการศึกษา มีทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษสูงกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่เรียนด้วยวิธีสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเกมทางการศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ =4.81, S.D.= 0.16)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

เกสร สีหา. (2558). การพัฒนาการเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้เกมการศึกษาประกอบกิจกรรมการเรียนการสอน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, มหาสารคาม.

จุฬารัตน์ อินทร์อุดม. (2561). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้เทคนิค SQ4R ร่วมกับพลังคำถาม. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พรวิมล ปานทอง. (2560). การพัฒนาการเรียนการสอนการอ่านภาษาอังกฤษ์เพื่อความเข้าใจ และแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ โดยใช้เทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พาตีฮะห์ อาลีมาส๊ะ. (2560). ผลของการจัดการเรียนรู้สาระภาษาอาหรับ โดยใช้เทคนิค KWL Plus ที่มีต่อการอ่านจับใจความสำคัญของนักเรียนชั้นอิสลามศึกษาตอนกลางปีที่ 2 โรงเรียนอาสาสุลดินวิทยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหามหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

ภัสราภรณ์ ธีระวงศานุรักษ์. (2562). การใช้เทคนิค KWL-PLUS เพื่อพัฒนาทักษะการใช้ความคิดสร้างสรรค์และความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแม่สายประสิทธิ์ศาสตร์อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ศศ.ม. พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

มาลินี สุทธิเวช. (2561). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านสรุปความ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิค KWL Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย มหาวิทยาลัยศิลปากร.

มุทิตา อุดรแผ้ว. (2560). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจและการเขียนภาษาอังกฤษ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบกลุ่มร่วมมือ CIRC และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ KWL-Plus. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

เมตตา สถาพรศิริกุล. (2565). ความสามารถทางคณิตศาสตร์ด้านจำนวนและตัวเลขของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 โรงเรียนซางตาครู้สคอนแวนท์ที่ได้รับการจัดกิจกรรมเกมการศึกษา. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สายสุดา หลังแดง. (2560). ผลการใช้เกมการศึกษาที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สิริดา โอวาสิทธิ์. (2565). บทเรียนเสริมความสามารถด้านการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้วิธี KWL-Plus สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

สุภาวดี จันทร์เอียด. (2558). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดฝึกอ่านเรื่อง “The Wonderful ASEAN” ด้วยวิธีการสอนแบบ เค ดับเบิลยู แอล พลัส กับการสอนแบบปกติ. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษเพื่อวิชาการและงานอาชีพ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.

อนุภาพ ดลโสภณ. (2557). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างการสอนโดยใช้เกมและการสอนตามคู่มือครู (วิทยานิพนธ์ กศ.ม.). บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Fuszard Barbara, Lowenstein Arlene J., & Bradshaw Martha J. (2001). Fuszard's innovative teaching strategies in nursing (3 ed.). Gaithersburg, MD: Aspen Publishers.

McMillan, J. H. (1996). "Educational Research: Fundamentals for the Consumer". New York: HarperCollins.

Quiocho, A. (March, 1997). "The quest to comprehended expository text : Applied Research ". Journal of Adolescent and Adult Literacy. 40(6): 450-454

Vicuna Laura. (2017). Educational Games Design: Creating an Effective and Engaging Learning Experience. (Bachelor of Engineering Information Technology). Helsinki Metropolia University of Applied Sciences, Helsinki.

Vincent, M (1994). "An Inventory to Pique Student' Meta Cognitive Awareness Reading Strategies". Journal of Reading. 38(12) :2.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

พรหมมี ด. ., & ภาคาผล ภ. . (2024). การพัฒนาทักษะการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ เทคนิค KWL-Plus ร่วมกับเกมทางการศึกษา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 10(4), 443–455. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/279591