รูปแบบแหล่งการเรียนรู้ตามหลักสัปปายะธรรม สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • พิชญวรัฏฐ์ พูลเจริญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

แหล่งการเรียนรู้, หลักสัปปายะธรรม, โรงเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการจำเป็นของแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร 2) พัฒนารูปแบบแหล่งการเรียนรู้ตามหลักสัปปายะธรรม 3) ประเมินรูปแบบ และ4) นำเสนอผลการทดลองใช้ การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน กลุ่มตัวอย่าง คือ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 371 คน และทดลองใช้รูปแบบ โดยครูผู้สอน จำนวน 119 คน กลุ่มเป้าหมายจำนวน 15 รูป/คน และการสนทนากลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญ จำนวน 9 รูป/คน เครื่องมือในการวิจัย คือแบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และคู่มือการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยค่าความถี่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการเขียนวิเคราะห์แบบสรุปความแบบเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพความต้องการจำเป็นของแหล่งการเรียนรู้ในโรงเรียน ทั้ง 7 ด้าน โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก 2.องค์ประกอบของรูปแบบเชิงข้อความ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ การบูรณาการ และการนำไปใช้ 3.การประเมินรูปแบบแหล่งการเรียนรู้ตามหลักสัปปายะธรรม สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4. ความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากข้อที่มากที่สุด ได้แก่ หลักการ วัตถุประสงค์ การบูรณาการ และการนำไปใช้ ตามลำดับ

References

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.(2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2560 – 2579. บริษัทพริกหวาน กราฟฟิค จำกัด.

อนุสรา ขัติทะ. (2559). ข้อเสนอเชิงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับการศึกษาในศตวรรษที่ 21 ของโรงเรียนเทศบาล 2 บ้านใหม่ประกอบราษฎร์วิทยานุกูล. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย, 9(19), 74-84.

วรรณา แสงบุญศรี. (2564). การบริหารจัดการแหล่งการเรียนรู้ตามหลักสังคหวัตถุ 4 ในการจัดการศึกษาตลอดชีวิตของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดอำนาจเจริญ. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด, 10(2), 64-75.

พระยุรนันท์ ภทฺทธมโม. (2564). การบริหารงานตามหลักสัปปายะธรรม ขององค์การบริหารส่วนตำบลบ้านวัง อำเภอโนนไทย จังหวัดนครราชสีมา. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(4), 25-34.

สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. (2565). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ.2566-2570). เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/download/Plan13/Doc/Plan13_Final.pdf

ประเวศ วะสี. (2566). จุดเปลี่ยนมหาวิทยาลัยไทย-จุดเปลี่ยนประเทศไทย. เข้าถึงได้จากhttps://www.thaipost.net/

อุทยานการเรียนรู้ TK park. (2565). แนวคิดการจัดตั้งและดำเนินการอุทยานการเรียนรู้ TK park. เข้าถึงได้จาก https://www.tkpark.or.th/tha/page/story

กลุ่มนโยบายและแผน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1. (2566). แผนพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐาน สพม.กท.1 (พ.ศ.2566-2570). เข้าถึงได้จากhttps://www.sesao1.go.th/

media/files/20230331112855_plan66-70.pdf

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. (2566). แผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566. เข้าถึงได้จาก http://www.esbuy.net/_files_school/00001245

/data/00001245_1_20230202-105733.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

พูลเจริญ พ. (2024). รูปแบบแหล่งการเรียนรู้ตามหลักสัปปายะธรรม สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 10(4), 417–431. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/279752