ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3

ผู้แต่ง

  • ปรมาพร บุญศิริ มหาวิทยาลัยหาดใหญ่
  • ศัจนันท์ แก้ววงศ์ศรี มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

คำสำคัญ:

ความฉลาดทางอารมณ์ , ผู้บริหารสถานศึกษา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 2) เพื่อเปรียบเทียบ ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 จำแนกตามข้อมูลทั่วไป ได้แก่ เพศ อายุ ประสบการณในตำแหน่งงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะที่มีต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ ของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม ศึกษาสงขลา เขต 3  กลุ่มตัวอย่าง มีจำนวน 226 คน  ในการรวบรวมข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ .992 ผลการวิจัย พบว่า 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาเขตพื้นที่อำเภอสะเดา โดยภาพรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก(= 4.19, S.D.=0.62)  2) ผลการเปรียบเทียบความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาที่มีข้อมูลทั่วไป  ได้แก่  เพศ อายุและตำแหน่งงาน พบว่าผู้บริหารสถานศึกษาที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์ในตำแหน่งงาน แตกต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้บริหารที่ปฏิบัติงานในสถานศึกษาที่มีขนาดแตกต่างกัน โดยภาพรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ3) ข้อเสนอแนะของครูที่มีต่อการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า 1) หน่วยงานต้นสังกัดควรมีการจัดโครงการฝึกพัฒนา การตระหนักรู้อารมณ์ตนเองให้กับผู้บริหารสถานศึกษา 2) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3 ควรมีหลักสูตรเพื่อเตรียมความพร้อม ด้านการตระหนักรู้อารมณ์ของตนเองในการอบรมผู้บริหารสถานศึกษาเข้าสู่ตำแหน่งใหม่ 3) ผู้บริหารควรสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงานร่วมกัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง 

References

กนกพร โพธิมณี. (2562). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี, จันทบุรี.

กนกอร ไชยกว้าง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน มหาวิทยาลัยพะเยา. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, อุบลราชธานี.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2545. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

จุฑามาศ มีน้อย. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับผลการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สรรพากรในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชาปิยา สิมลา. (2563). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสาคร. การค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

ณัฐณิชา ติยะศาศวัต. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ณัฏฐ์มนกาญน์ กลิ่นน้อย. (2565). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มพัฒนาการศึกษาที่ 5สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1. วารสารชมรมบัณฑิตศิลป์, 2(2), 103-116.

ดุษฎี แก้วภักดี. (2565). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับภาวะผู้นำที่แท้จริงของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

บุญนิกร คํากองแก้ว. (2562). ความฉลาดทางอารมณ์ทีส่ งผลต่อการปฏิบัติงานตามเกณฑ์มาตรฐานการปฏิบัติงานของผ้บริหารสถานศึกษา สังกัดสํานักงานเขตพืนทีการศึกษามัธยมศึกษา เขต 9จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง, ราชบุรี.

ปวีณา บุศยรัตน์. (2565). ความฉลาดทางอารมณ์ของผ้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผ้สอน สังกัดสํานักงานเขตพืนทีการศึกษาประถมศึกษาตราด. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏรําไพพรรณี, จันทบุรี.

วัน เดชพิชัย. (2535). คู่มือการวิจัยและการประเมินโครงการทางการศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์. ปัตตานี: คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

สมฤทัย คุ้มสกุล. (2559). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สมุทร ชำนาญ. (2556). ภาวะผู้นำทางการศึกษา ทฤษฎี และปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ระยอง: พี.เอสการพิมพ์.

สุภาวดี วุฒิรัตน์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษากับการดำเนิน งานด้านบุคคลของสถานศึกษา อำเภอไทรน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.

สุทธภา เวชวิสุทธิคุณ. (2561). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีมของครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 2. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

อวัสฎา นาโสก. (2560). ปัจจัยด้านความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.

อันธิกา บุญเลิศ. (2562). ทักษะการบริหารของผู้บริหารกับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.

อุไรวรรณ ชูมี. (2561). การศึกษาความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามการรับรู้ของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1. การค้นคว้าอิสระครุศาสตร มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สุราษฎร์ธานี.

Goleman, D. (1995). Emotional intelligence. New York: Bantam Books.

Mayer J.D., Salovey P. (1997). What is emotional intelligence? In Salovey P., Sluyter D. (Eds.), Emotional development and emotional intelligence: Educational implications (pp. 3–31). New York: Basic Books.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-31

How to Cite

บุญศิริ ป. ., & แก้ววงศ์ศรี ศ. . . (2024). ความฉลาดทางอารมณ์ของผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่อำเภอสะเดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 10(4), 494–509. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/279982