ปัญหาและข้อผิดพลาดในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ

ผู้แต่ง

  • นพรัตน์ จันทร์โสภา มหาวิทยาลัยนเรศวร พิษณุโลก ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ข้อผิดพลาดในการแปล, การแปลภาษาอังกฤษ-ไทย, สัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ข้อผิดพลาดในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ โดยเน้นการตรวจสอบข้อผิดพลาดด้านโครงสร้างไวยากรณ์ การเลือกใช้คำศัพท์ กริยาวลี และการแปลสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อความถูกต้องและความชัดเจนในการถ่ายทอดความหมายในภาษาเป้าหมาย โดยเก็บข้อมูลจากแบบทดสอบการแปลและการสัมภาษณ์เชิงลึก เพื่อวิเคราะห์ลักษณะที่ส่งผลต่อข้อผิดพลาดและอุปสรรคในกระบวนการแปล ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่าข้อผิดพลาดที่พบบ่อยที่สุดคือการแปลกาลและกาลลักษณะ (Tenses and Aspects) ร้อยละ 41.5 รองลงมาคือข้อผิดพลาดในการแปลกริยาวลี (Phrasal Verbs) ที่ไม่สอดคล้องกับบริบท ร้อยละ 28.7 ตามด้วยข้อผิดพลาดในการเลือกใช้คำที่มีความหมายหลากหลาย (Polysemy) ร้อยละ 18.2 และข้อผิดพลาดในการแปลสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม (Cultural References) ร้อยละ 11.6 การสัมภาษณ์นิสิตสะท้อนให้เห็นว่าสาเหตุหลักของข้อผิดพลาดเหล่านี้มาจากการขาดความมั่นใจในการปรับโครงสร้างและการตีความเชิงบริบทในภาษาเป้าหมาย นิสิตมักแปลโดยยึดตามตัวอักษรเนื่องจากขาดความมั่นใจในการตีความเชิงบริบทโดยกังวลว่าการปรับเปลี่ยนโครงสร้างอาจส่งผลให้ความหมายของต้นฉบับผิดเพี้ยน ข้อค้นพบนี้เน้นย้ำถึงความจำเป็นในการพัฒนาทักษะการแปลที่เน้นการตีความความหมายเชิงบริบท การเลือกใช้คำศัพท์ที่เหมาะสม และความเข้าใจในบริบททางวัฒนธรรม เพื่อให้นิสิตสามารถถ่ายทอดความหมายได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน

References

ดวงตา สุพล. (2541). ทฤษฎีและกลวิธีการแปล. กรุงเทพฯ: ภาควิชาภาษาอังกฤษ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิพา เทพอัครพงศ์. (2544). การแปลเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ปัญญา บริสุทธิ์. (2542). ทฤษฎีและวิธีปฏิบัติในการแปล. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดอรุณการพิมพ์.

ประเทือง ทินรัตน์. (2545). การแปลเชิงปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

วรนาถ วิมลเฉลา. (2543). คู่มือสอนแปล (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2542). การแปล: แนวคิด ทฤษฎี และการฝึกฝน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วรรณา แสงอร่ามเรือง. (2545). ทฤษฎีและหลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุพรรณี ปิ่นมณี. (2546). การแปลขั้นสูง. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สัญฉวี สายบัว. (2560). หลักการแปล (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อัจฉรา ไล่ศัตรูไกล. (2554). การแปลกาลและกรรมวาจกในบริบทภาษาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Baker, M. (1992). In other words: A coursebook on translation. London: Routledge.

Barnwell, K. G. L. (1980). Introduction to semantics and translation. England: Summer Institute of Linguistics, Horsleys Green.

Catford, J. C. (1980). A linguistic theory of translation. Oxford: Oxford University Press.

Larson, M. L. (1984). Meaning-based translation: A guide to cross-language equivalence. New York: University Press of America.

Newmark, P. (1988). A textbook of translation. New York: Prentice Hall.

Nida, E. A. (1964). Toward a science of translating: With special reference to principles and procedures involved in Bible translating. Leiden: E. J. Brill.

Toury, G. (1995). Descriptive translation studies and beyond. Amsterdam: John Benjamins.

Venuti, L. (1995). The translator's invisibility: A history of translation. London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-19

How to Cite

จันทร์โสภา น. (2025). ปัญหาและข้อผิดพลาดในการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย ของนิสิตสาขาวิชาภาษาอังกฤษ. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 11(1), 454–470. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/281208