แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท ๔ ของผู้บริหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • โกศล อุดมวงษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • สุนทร สายคำ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • สัมฤทธิ์ กางแพ็ง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ ๑) เพื่อวิเคราะห์สภาพปัจจุบันและแนวทางการบริหารงานวิชาการ โดยใช้หลักอิทธิบาท ๔ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดขอนแก่น ภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ๒) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารงานวิชาการ ตามหลักอิทธิบาท ๔  ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถาม ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ ๐.๙๘ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กและครูผู้สอน จำนวน ๒๕๐ คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย  ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูลเป็นแบบสัมภาษณ์ โดยกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน ๙ รูป/คน โดยการเลือกแบบเจาะจงเพื่อใช้สำหรับการตรวจสอบความสอดคล้องหรือเที่ยงตรง ผลการวิจัย พบว่า ๑. สภาพการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท ๔ ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดขอนแก่น พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด โดยด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด ตามหลักฉันทะ ๒. แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท ๔ ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบไปด้วยการบูรณาการกันระหว่างหลักอิทธิบาท ๔ และการบริหารงานวิชาการ ด้านฉันทะ คือ ผู้บริหารสร้างบรรยากาศในการเรียนการสอนที่เน้นความพอใจและความตั้งใจของครูและนักเรียน ด้านวิริยะ คือ ผู้บริหารพยายามนิเทศครูอย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาการสอนและยกระดับคุณภาพการเรียนการสอน ด้านจิตตะ คือ ผู้บริหารมีการจัดการและวิเคราะห์การใช้สื่อการสอนเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการเรียนรู้ ด้านวิมังสา คือ ผู้บริหารวิเคราะห์ความสอดคล้องของหลักสูตรกับความต้องการของผู้เรียนและแนวโน้มการศึกษาในอนาคต

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น. (2559). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น.

จีรนุช ตันติ. (2566). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ในยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 2(3), 25.

ธงชัย สันติวงษ์. (2548). องค์การและการบริหาร (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

นฤดล มะโนศรี. (2565). การบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา วิทยาเขตหลักเมืองเลย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเลย หนองบัวลำภู [วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].

บุญชม ศรีสะอาด. (2544). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: บริษัท สุวีริยาสาส์น จำกัด.

พรทิพย์ บัวเผื่อน และคณะ. (2566). การบริหารงานวิชาการยุคนิวนอร์มัลตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชนในจังหวัดหนองบัวลำภู. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 10(1), 363-364.

พระมหาวิทวัฒน์ วิวฑฺฒนเมธี (จันทร์เต็ม). (2561). การบริหารตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2 [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].

พระมหาสุพิชฐพล ชิตวิริโย (เชื้อกุล). (2565). การบริหารสถานศึกษาสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา จังหวัดขอนแก่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1031-1032.

ยุพิน ขุนทอง. (2560). การบริหารงานวิชาการสู่ความเป็นเลิศตามหลักอิทธิบาท 4 ในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 [วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย].

สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2566). รายงานปีการศึกษา 2566 ณ วันที่ 10 มิถุนายน 2566.

สุริยา จารึกภักดี. (2566). การบริหารงานวิชาการในยุคดิจิทัลตามพหูสูต 5 ของผู้บริหารโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เขต 11. วารสารครุศาสตร์ปัญญา, 2(2), 48.

อรุณณี พรพงศ์ และคณะ. (2567). การบริหารงานวิชาการตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 11(2), 397-398.

Farihah, U., et al. (2024). The influence of academic administration services with the RATER approach on student satisfaction in higher education. Al-Tanzim Jurnal Manajemen Pendidikan Islam, 8(1), 174-191.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-16

How to Cite

อุดมวงษ์ โ., สายคำ ส. ., & กางแพ็ง ส. . (2025). แนวทางการบริหารงานวิชาการตามหลักอิทธิบาท ๔ ของผู้บริหาร ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จังหวัดขอนแก่น สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 11(1), 357–371. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/281870