ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ
คำสำคัญ:
Needs assessment, Academic Administration, Special Education Service Centersบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสภาพปัจจุบัน และสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการของหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ 2) เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครูผู้สอนของศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ จำนวน 322 คน ซึ่งกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการกำหนดตัวอย่างของยามาเน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ PNI modified ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับสภาพปัจจุบันของการบริหารงานวิชาการของหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทั้ง 5 ข้อ (x̄ = 4.23, S.D. = 0.63) ระดับสภาพที่พึงประสงค์ของการบริหารงานวิชาการหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( x̄ = 4.38, S.D. = 0.62) 2) การประเมินความต้องการจำเป็นของการบริหารงานวิชาการของหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ ลำดับความต้องการจำเป็น เรียงตามลำดับ คือ งานส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรวม งานส่งเสริม สนับสนุนการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการโดยครอบครัวและชุมชน งานทะเบียนนักเรียน วัดผลและประเมินผล ส่งต่อ งานบริการช่วยเหลือระยะแรกเริ่มและเตรียมความพร้อม และงานสิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการ และความช่วยเหลืออื่นใดทางการศึกษา
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2566). แผนการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ (พ.ศ. 2566–2570) ฉบับที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.
ช่อทิพย์ มงคลธวัช และ ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2565). การศึกษาสภาพและแนวทางการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาในสังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. Journal of Modern Learning Development, 7(5).
ชูศักดิ์ ศิริเชียงพิณ. (2564). สภาพการบริหารงานวิชาการของหน่วยบริการอำเภอ ศูนย์การศึกษาพิเศษ เขตการศึกษา 7 จังหวัดพิษณุโลก. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 15(1).
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
ภัชญณัญ ภัทรพนาสกุล. (2566). แนวทางการบริหารหน่วยบริการ ศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 8(3).
ราชกิจจานุเบกษา. (2551). พระราชบัญญัติการจัดการศึกษาสำหรับคนพิการ พ.ศ. 2551.
ราชกิจจานุเบกษา. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2553.
ราชกิจจานุเบกษา. (2560). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560.
วราภรณ์ จิตชาญวิชัย. (2565). การบริหารงานวิชาการตามทัศนะของครูศูนย์การศึกษาพิเศษ ภาคใต้ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(3).
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2559). คู่มือการปฏิบัติงานหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ธรรมรักษ์การพิมพ์.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2561). คู่มือการปฏิบัติงานของศูนย์การศึกษาพิเศษ. กรุงเทพฯ: ธรรมรักษ์การพิมพ์.
สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ. (2566). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: ธรรมรักษ์การพิมพ์.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 Journal of Buddhist Education and Research (Online)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.