การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้บอร์ดเกม ชุด ภารกิจพิชิตดินแดนเศษส่วน
คำสำคัญ:
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์, บอร์ดเกม, เศษส่วนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและประเมินประสิทธิภาพของบอร์ดเกม ‘ภารกิจพิชิตดินแดนเศษส่วน’ ตามเกณฑ์ 80/80 และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ก่อนและหลังเรียนผ่านบอร์ดเกมนี้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 28 คน ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 6 อำเภอทุ่งสง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ซึ่งได้มาจากการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้แบบแผนการทดลอง One Group, Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) บอร์ดเกม ชุด ภารกิจพิชิตดินแดนเศษส่วน (2) แผนการจัดการเรียนรู้วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน โดยใช้บอร์ดเกม ชุด ภารกิจพิชิตดินแดนเศษส่วน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ที่มีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่แบบกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test dependent) ผลการวิจัยพบว่า (1) บอร์ดเกม ชุด ภารกิจพิชิตดินแดนเศษส่วน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.56/81.10 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 80/80 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง เศษส่วน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยใช้บอร์ดเกม ชุด ภารกิจพิชิตดินแดนเศษส่วน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ชาคริสต์ ขำศรี, จักรกฤษ กลิ่นเอี่ยม, และวนินทร พูนไพบูลย์พิพัฒน์. (2565). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ด้วยเกมกระดานที่ส่งเสริมมโนทัศน์ทางคณิตศาสตร์ เรื่องจำนวนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. Journal of Roi Kaensarn Academi, 7(10), 297-312.
ปาริชาต ชิ้นเจริญ. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้บอร์ดเกมเป็นฐานที่ส่งเสริมความฉลาดรู้ด้านระบบนิเวศ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (การค้นคว้าอิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร).
ธิดาพร ผันผ่อน, ประภาพร หนองหารพิทักษ์, และปวีณา ขันธ์ศิลา. (2566). การสร้างบอร์ดเกมเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์เรื่องทฤษฎีบทพีทาโกรัส สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม, 22(1), 99–109.
นรรัชต์ ฝันเชียร. (2563). Games Based Learning หรือ GBL คืออะไร. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.trueplookpanya.com/blog/content/84436/-blog-teamet
มงคล ศุภอําพันวงษ์. (2562). การออกแบบบอร์ดเกมส่งเสริมปลูกฝังการอนุรักษ์สัตว์ป่าสงวน. (จุลนิพนธ์ วท.บ., มหาวิทยาลัยสยาม).
ศิริพร ศรีจันทะ. (2562). การสร้างและใช้เกมเพื่อการเรียนรู้แบบ Active Learning สู่ชั้นเรียน : สร้างห้องเรียนยุคใหม่ให้เปี่ยมไปด้วยความสุข. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2567, จาก https://dev.educathai.com/events/2019/44
สฤณี อาชวานันทกุล. (2564). Board Game (บอร์ดเกม) กิจกรรมสุดอินเทรนด์เปิดโลกการเรียนรู้. ค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A1/143363
เสถียรพงษ์ ดวงรัตนเอกชัย. (2562). Game-based learning ทางเลือกสำหรับการศึกษาวิทยาศาสตร์ยุคใหม่. นิตยสาร สสวท, 47(216), 25-30.
สุรศักดิ์ แซ่ลิ้ม. (2564). Game-based Learning เรียนแบบสนุก เข้าใจแบบสบาย. ค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2567, จาก https://www.educathai.com/knowledge/articles/520
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Journal of Buddhist Education and Research (Online)

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.