ภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา แสงเนียม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • พระครูวินัยธรวรวุฒิ เตชธมฺโม (เฮียงเหี่ย) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย
  • พระครูปลัดบุญช่วย โชติวํโส (อุ้ยวงค์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ขอนแก่น ประเทศไทย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น และ 2) ศึกษาแนวทางภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น การวิจัยใช้รูปแบบ ผสมผสาน เก็บข้อมูลจากผู้บริหาร และครู 186 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น พบว่า ในภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีการปฏิบัติสูงสุด คือ ด้านสมานัตตตา ต่ำสุด คือ ด้านปิยวาจา 2) แนวทางภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ 4 คือ ผู้บริหารควรมีความเมตตาในด้านต่าง ๆ สุภาพ อ่อนโยน เป็นกลางไม่เอนเอียง ให้เกียรติผู้ใต้บังคับบัญชา กระจายงานหรือหน้าที่รับผิดชอบอย่างทั่วถึง และ ประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรด้วยความเป็นธรรม และเสมอภาค

References

จักรกฤต หาพา และคณะ. (2564). แนวทางการส่งเสริมการบริหารงานกิจการนักเรียนตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของโรงเรียนเฉพาะความพิการ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 4. วารสาร Journal of Modern Learning Development, 6(1), 302-312.

ต่อศักดิ์ ศรีแก้วแฝก และคณะ. (2565). การบริหารความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 12. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 16(2), 19.

ธนกฤต หัตถีรัตน. (2564). รูปแบบการบริหารงานวิชาการของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(2), 46.

เลอศักดิ์ ตามา และสุมาลี ศรีพุทธรินทร์. (2564). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการดำเนินงานระบบประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22. วารสารรัชดาภาค, 15(38), 224-240.

วิภาวรรณ แอบกลิ่นจันทร์ และคณะ. (2564). ภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ของผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. วารสารนวัตกรรมการบริหารการศึกษา, 6(2), บทคัดย่อ.

ศิริวรรณ มนอัตระผดุง. (2559). การจัดการความขัดแย้งในองค์การอย่างสร้างสรรค์. วารสารวไลกรณ์ปริทัศน์ มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(2), 193.

เศรษฐพล บัวงาม และคณะ. (2564). การบริหารจัดการความขัดแย้งของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(3), 203-213.

สุจรรยา คําไล้ และคณะ. (2565). รูปแบบการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็กคุณภาพ สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 10(3), 1254.

พระครูไพโรจน์ กิจจาทร (สกุล สุภทฺโท) และคณะ. (2563). การพัฒนาผู้บริหารสถานศึกษาตามหลักสังคหวัตถุ 4 สำหรับโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดกรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์, 7(2), 1-13.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-03-16

How to Cite

แสงเนียม ช., เตชธมฺโม (เฮียงเหี่ย) พ., & โชติวํโส (อุ้ยวงค์) พ. (2025). ภาวะผู้นำตามหลักสังคหวัตถุ 4 ของผู้บริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดขอนแก่น. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 11(1), 349–356. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/282406