ธรรมาภิบาลในการส่งออกทุเรียนของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ทนงศักดิ์ ใจช่วย วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม, มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี, ประเทศไทย
  • จอมเดช ตรีเมฆ วิทยาลัยผู้นำและนวัตกรรมสังคม, มหาวิทยาลัยรังสิต, ปทุมธานี, ประเทศไทย

คำสำคัญ:

ธรรมภิบาล, การส่งออกทุเรียน, ผู้ประกอบการ, ล้งทุเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้วิเคราะห์ปัญหาธรรมาภิบาลในการส่งออกทุเรียนของประเทศไทย และเสนอแนวทางพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติที่ดีและนโยบายการค้าที่เป็นธรรม โดยอาศัยข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ประกอบการล้งทุเรียนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยใช้วิธีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 12 คน ได้แก่ ผู้ประกอบการล้งทุเรียน จำนวน 8 ราย และผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องกับนโยบายการเกษตร จำนวน 4 ราย ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัญหาการค้าที่ไม่เป็นธรรมการส่งออกทุเรียนของประเทศไทย ได้แก่ การควบคุมและเหมาผลผลิต การคัดเกรดและควบคุมราคา ระบบกฎระเบียบที่ซับซ้อน การถูกสวมสิทธิ์ทุเรียนจากประเทศเพื่อนบ้าน และการแทรกแซงจากกลุ่มทุนสีเทา 2) มาตรฐานในการปฏิบัติที่ดีของการส่งออกทุเรียนของประเทศไทย ได้แก่ ราคาทุเรียน การขนส่งและระบบตรวจสอบ การควบคุมคุณภาพทุเรียนให้ได้มาตรฐาน การตรวจสอบสารเคมีต้องห้ามและทุเรียนอ่อน และการมีมาตรฐานที่ชัดเจนและการควบคุมก่อนการตัดและส่งออกทุเรียนภายในประเทศ  และ 3) นโยบายการค้าที่เป็นธรรมของภาคการเกษตรด้านการส่งออกทุเรียนของประเทศไทย ได้แก่ การควบคุมคุณภาพทุเรียนเพื่อการส่งออกการส่งเสริมตลาดและหาตลาดใหม่ การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานและระบบการขนส่ง การช่วยเหลือด้านการเงินสำหรับผู้ประกอบการ และการพัฒนาการส่งออกทุเรียนร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน

References

กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร. (2563). การศึกษาบทบาทของผู้ประกอบการธุรกิจผลไม้ที่มีต่อทุเรียนไทย. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.

ธนิต โสรัตน์. (2550). การประยุกต์โลจิสติกส์และโซ่อุปทาน. กรุงเทพฯ: วี-เซิร์ฟ โลจิสติกส์.

นิพนธ์ วิสารทานนท์. (2542). โรคทุเรียน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด เอ พลัส ทรี มีเดียม.

สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า. (2562). ทุเรียน ราชาแห่งผลไม้ไทย ถูกใจคนต่างแดน. สืบค้นจาก http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/thueriiyn_240863.pdf

สถาบันพระปกเกล้า. (2556). ธรรมาภิบาล. สืบค้นจาก https://goodgovernance.kpi.ac.th/home/mainpage/2

สุดารัตน์ ศรีจันทร์, ทรงคุณ จันทจร, & กิตติกรณ์ บำรุงบุญ. (2565). ภูมิปัญญาทุเรียนจันทบุรี: เศรษฐกิจสร้างสรรค์เพื่อการส่งออก. วารสารสหวิทยาการวิจัยและวิชาการ, 2(5), 325–344.

หิรัญ หิรัญประดิษฐ์. (ม.ป.ป.). ประวัติทุเรียนในประเทศไทย. สืบค้นจาก https://www.kingpandurian.com/experience/ประวัติทุเรียนในประเทศไทย

วงธรรม สรณะ. (2564). เศรษฐศาสตร์การเมืองว่าด้วยการค้าทุเรียน: กรณีศึกษาการค้าของพ่อค้าคนกลางในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยวิชาการ, 4(4), 167–178.

Ahearne, A., Nunes, J., & van der Woude, M. (2004). Trade barriers: Their impact and future trends. OECD Economic Studies.

Chamberlin, E. H. (1933). The theory of monopolistic competition. Harvard University Press.

Gusztav, N. (2005). Integrated rural development: The concept and its operation. Budapest: Economics Hungarian Academy of Sciences.

Helpman, E., & Krugman, P. (1985). Market structure and international trade. MIT Press.

Hotelling, H. (1929). Stability in competition. The Economic Journal, 39(153), 41–57.

Irwin, D. A. (2002). Free trade under fire. Princeton University Press.

Krugman, P. R., & Obstfeld, M. (2009). International economics: Theory and policy (9th ed.). Pearson.

Lancaster, K. J. (1990). Intra-industry trade under perfect monopolistic competition. Journal of International Economics, 29(1–2), 131–145.

McDonald, M. (2002). Marketing plans: How to prepare them, how to use them (5th ed.). Singapore: Butterworth-Heinemann.

Porter, M. E. (1998). The competitive advantage: Creating and sustaining superior performance. NY: Free Press.

Rodrik, D. (1997). Has globalization gone too far. Challenge, 41(2), 81–94.

Stiglitz, J. E. (2002). Globalization and its discontents. W. W. Norton & Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-04-01

How to Cite

ใจช่วย ท., & ตรีเมฆ จ. . (2025). ธรรมาภิบาลในการส่งออกทุเรียนของประเทศไทย. Journal of Buddhist Education and Research (Online), 11(2), 184–210. สืบค้น จาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jber/article/view/282963